ดนตรีเป็นเรื่องของทักษะครับ ถ้าเราซ้อมไม่ถูกต้องพัฒนาการจะไปได้ช้ามาก บทความจาก Khon Kaen Jazz Society [1]ครับ สรุปว่าซ้อมช้าจะเป็นเร็ว สมองแป็บเดียวก็จะแล้ว แต่กล้ามเนื้อกว่าจะจำก็ต้องใช้งานบ่อยๆ ถ้าเราซ้อมสิ่งที่ผิดบ่อยๆ กล้ามเนื้อมันก็จะจำ(Muscle Memory)สิ่งที่ผิดจนชำนาญแล้วจะแก้ไขยากมากกกก
“Practice does not make perfect. Only perfect practice makes perfect.” – Vince Lombardi
นักกีตาร์ส่วนใหญ่ชอบที่จะเล่นเร็ว ราวกับว่ากีตาร์นี้มันถูกสร้างมาเพื่อให้เราได้โบยบินไปทั่ว Fingerboard และเล่นใน Tempos ที่เร็วยิ่งกว่าพวกเครื่อง Woodwind และ Brass เสียอีก
แต่ว่า ปัญหาท่ามกลางของนักเรียนกีตาร์แจ๊สส่วนใหญ่จะคิดว่า การที่เราอยากจะเล่นเร็วๆ นั้น จำเป็นต้องฝึกเล่นเร็ว
แต่ไม่ใช่จะเป็นแบบนี้เสมอไป ความจริงแล้ว คุณจำเป็นต้องฝึกเล่นให้ช้าและได้ยินในโน้ตที่คุณเล่นอย่างชัดเจนต่างหาก ที่มันสำคัญกว่าที่คุณจะฝึกเล่นเร็ว
คุณอาจเถียงว่า เฮ้ย! มันเป็นไปได้อย่างไร?
คืออย่างนี้ครับ เมื่อคุณฝึกเล่นโดยช้าๆนี้ มันจะช่วยให้คุณได้รับ Muscles Time หรือที่ผมเรียกว่า "รอบ" ที่จะไปพัฒนาเทคนิคที่เหมาะสม ที่จะให้คุณได้ใช้ในการเล่นเร็วในเวลาต่อมา
และถ้าคุณฝึกเล่นเร็วอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าวิธีการในการฝึกซ้อมของคุณไม่ถูกต้อง หรือมีการใช้ Fingerings ที่ไม่เหมาะสม หรืออื่นๆ นั่นก็คือ คุณได้ Training กล้ามเนื้อของคุณในทางที่ผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณได้เล่นใน Idea นั้นๆที่คุณฝึกซ้อม เชื่อได้เลยว่าส่วนใหญ่มือของคุณจะ Translating ไปยังการเล่นที่บกพร่อง หรือมีข้อผิดพลาดอันไม่เหมาะสมที่ Slower Tempos นั้นด้วย
แต่ว่า ถ้าคุณ Practice Perfectly ใน Slow Tempos มากๆแล้ว กล้ามเนื้อของคุณ (Muscles) จะรู้ว่าทำอย่างไรจะ Move และ React เมื่อคุณได้เริ่มเล่นใน Faster Tempos
ผมขอยกตัวอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกชื่นชอบและก็เพิ่งที่จะได้เรียนรู้มาสดๆ
ในวันนั้นคุณครู ได้พูดเกี่ยวกับ Idea นี้ในบทเรียนหนึ่งที่ผมมักจะเล่นแบบแถไหลไปตามความคล่องของมือที่เกิน Limit ด้วยยังมีวิญญาณแห่ง Shredder อยู่ในตัวเต็มพิกัด แต่วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่คุณครูเขาต้องการ และเขาได้ให้คำอธิบายว่า:
“Have you ever watched a baby learn to walk? They first learn to crawl, very slowly. Then they learn to walk very slowly, allowing their muscles to develop proper coordination and mechanics.
Then, one day, once they’ve learned to walk, they just run. They don’t practice running, they just do it.
They’ve developed all the proper movements very slowly, so it’s just a matter of walking fast. They are one in the same as far as the technique is concerned, one is just done more quickly than the other.”
ผมถอดความเป็นภาษาสเปนสักนิดหน่อยก็แล้วกัน ด้วยนักเรียนของผมส่วนใหญ่ตกภาษาอังกฤษ
“ อั่น...บักหำ เจ้าเคยเห็นบักหำน่อยมันหัดแลนเลยบ่อ หือ ประสบการณ์แรกของบักหำน่อยทารกนี่คือ หัดคลานอย่างช้าๆ แม่นบ่อล่ะ บัดเทือเนี้ย มันก็สิค่อยๆ หัดหย่างช้าๆแม่นบ่อ นั่นก็คือว่ามันเฮ็ดให่กล้ามเนื้อของเจ้ามันค่อยๆพัฒนาสอดคล้องเป็นกลไกที่เหมาะสม ซั่นตั้วหล่า...
ขั่นว่าต่อมา บักหำน่อย มันเริ่มใหญ่เป็นบักหำเป้ด (โ...ยเสียก!)จักหน่อยหนา บักหำเป้ดก็จะเริ่มเฮียนฮู้การหย่าง (Walking) บ่อแมนการแลนเด๋ (Running) บัดเทือเนี้ย เจ้าก็สิเห็นได้ว่า เด็กน่อยบ่อได้หัดแลนเลยเด๋ มันแค่แลนหันโลดซั่นแหล่ว ไล่จับนำกาบ่อทัน ฮ่วย!
นั่นก็หมายความว่า ซุมเด็กน่อยนั่นได้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมทุกอย่างแบบช้าๆเด๋นั่นนะ...พู่นแหล่ว”
ในเรื่องเดียวกันนี้ เราก็นำมาใช้ Applied ในการเรียนรู้ดนตรีของเราว่า ต่อไปลองให้คุณเรียนรู้ที่จะฝึกซ้อม New Licks หรือ Scale ในชีวิตประจำวันโดยพยายาม Try working it as slow as possible. หรือช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ตัวอย่างง่ายๆ ให้คุณลองฝึกซ้อมสเกลหรือ Lick ที่มันเร็วโครตใน Quarter Notes ที่ 10 bpms จากนั้นหลังจากที่คุณซ้อมไปเรื่อยๆ โดยจดจ่อใส่ใจในคุณภาพเสียง ฯลฯ ในระยะเวลาหนึ่ง(นานพอสมควร) แล้วออกไปเดินเล่นสัก 5-10 นาที จากนั้นก็ลองเล่น Idea เดิมนั้น ใน Tempo ที่เร็วขึ้น แล้วคุณจะ Surprised ว่า “หา...กูสามารถทำได้นี่หว่า”
นั่นก็คือ กล้ามเนื้อหรือมือของคุณ (Muscles) ได้ถูก Trained เพื่อที่จะเล่นใน Idea นั้นๆอย่างเหมาะสม ถูกต้องด้วยพัฒนาการ ด้วยการ Translate ไปยัง Tempo ที่เร็วขึ้นได้
อ้าว! เที่ยงพอดี ไปกินข้าวก่อนนะครับ
[1]https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/570078996391075
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น