โน๊ตสากล ก็เป็นการบันทึกรูปแบบหนึ่งผ่าน บรรทัด 5 เส้น และเครื่องหมายกำหนดจังหวะต่างๆ เช่นตัวขาว ตัวดำ ตัวเขบ๊ด ฯลฯ และสัญลักษณ์พิเศษอีกมากมาย ทำให้เป็นยาขมสำหรับนักดนตรีหลายท่าน
คุณ ส.พิณแก้ว ก็เห็นปัญหานี้ โดยลดทอนโน๊ตสากลให้เหลือ แต่ส่วนสำคัญที่เพียงพอจะเล่นเป็นเพลงได้ และนำจุดเด่นของโน๊ตอักษรของดนตรีไทย "ด ร ม ฟ" ที่เห็น "ด" ก็รู้ว่าเป็นเสียง "โด" เข้ามาเป็นโน๊ตไทยสากลที่ทำให้นักเรียนสามารถเล่นเป็นเพลงได้งายขึ้นมันเยี่ยมจริงๆ ท่านสามารถศึกษาแนวคิดการบันทึกของเขาได้ที่ http://www.ghfthailand.org/new_notation_content0.htm
ตัวอย่างการอ่านโน๊ตเพลงสายฝน
ถ้าเรารู้แค่โน๊ต วรรคแรกที่ร้องว่า "เมื่อลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว" โน๊ตคือ "เร มี ซอล มี ฟา มี เร" ถ้าโชคดีฮัมทำนองเพลงได้ก็เล่นเป็นเพลงได้แต่ถ้าเป็นเพลงที่ไม่เคยได้ยินก็ไม่รู้ทำนองก้จะเล่นไม่เป็นเพลง โน๊ตสากลก็เข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ โดยระดับเสียงเป็นสัญลักษณ์อยู่บนบรรทัด 5 เส้น และความยาวเสียงเป็นตัวโน๊ต ตัวกลม ตัวขาว ตัวดำ ฯลฯการอ่านโน๊ตเพลงสายฝน ในโน๊ตสากล
โน๊ตเพลงสายฝน (กดที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่) |
ตัวอย่างโน๊ตเพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน" จะยกตัวอย่างว่ากว่าจะโน๊ตนี้เป็นเพลงได้ 4 ห้องต้องรู้อะไรบ้าง
- เครื่องหมายกุญแจซอล บอกว่าเครื่องหมายโน๊ตอะไรที่อยู่บรรทัดที่ 2 นับจากข้างล่างคือเสียง "ซอล" อยากรู้โน๊ตตัวอื่นก็ไล่เสียงต่อเอา
- ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น เรื่องคีย์ และโน๊ตในแต่ละคีย์ว่าตัวไหนติดช๊าป แฟลตบ้าง ในรูปมีเครื่องหมาย # อยู่ตรงเสียง "ฟา" นักดนตรีก็จะรู้ทันทีว่าเพลงนี้อยู่คีย์ G เวลาเล่นเพลงเห็นโน๊ตตัวฟาต้องเล่นเป็นฟาช๊าป (สูงกว่าเดิมครึ่งเสียง)
- เครื่องหมาย 3/4 บอกว่าเพลงนี้ 1 ห้องเพลงมี 3 จังหวะ โดยโน๊ตตัวดำนับเป็น 1 จังหวะ
- เริ่มเล่นห้องเพลงที่ 1
- โน๊ตตัวแรกคือเสียง "เร" ตัวขาวยาว 2 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1 และ 2 ของห้องเพลง
- โน๊ตตัวที่สองคือเสียง "มี" ตัวดำยาว 1 จังหวะ ลงจังหวะที่ 3
- เล่นห้องเพลงที่ 2
- โน๊ตตัวแรกคือเสียง "ซอล" ตัวขาวยาว 2 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1 และ 2 ของห้องเพลง
- โน๊ตตัวที่สองคือเสียง "มี" ตัวดำยาว 1 จังหวะ ลงจังหวะที่ 3
- เล่นห้องเพลงที่ 3
- โน๊ตตัวแรกคือเสียง "ฟา" ตัวขาวยาว 2 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1 และ 2 ของห้องเพลง
- โน๊ตตัวที่สองคือเสียง "มี" ตัวดำยาว 1 จังหวะ ลงจังหวะที่ 3
- เล่นห้องเพลงที่ 4
- โน๊ตตัวแรกคือเสียง "เร" ตัวขาวประจุดยาว 2 จังหวะบวกอีกครึ่งของตัวเองคือ 1 จังหวะ รวมเป็น 3 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1, 2 และ 3 ของห้องเพลง
โน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว
เล่นแค่สี่ห้องต้องใช้ความรู้เยอะพอสมควรเลยทีเดียว คุณ ส.พิณแก้ว ก็ได้ประยุกต์โน๊ตสากลให้อ่านง่ายขึ้น เหลือแต่จุดสำคัญ และเอา วิธีบันทึกโน๊ตแบบไทยแบบ "ดรมฟ" ที่เสียง "โด" ก็เป็น "ด", "เร" เป็น "ร" ฯลฯ มาประยุกต์ กลายเป็นโน้ตไทยสากล ดังภาพ โดยวิธีอ่านก็เหมือนโน๊ตสากลข้างบน
โน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว (กดที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่) |
โดยสรุป โน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การสอนดนตรีเป็นเรื่องง่ายขึ้น เล่นเป็นเพลงโดยไม่ต้องบันทึกโน๊ตบนบรรทัด 5 เส้น และเป็นพื้นฐานที่ใช้ต่อยอดไปอ่านโน๊ตสากลได้ครับ มันเยี่ยมจริงๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น