หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ดนตรีช่วยฝึกสมาธิ หรือต้องมีสมาธิถึงฝึกดนตรี?

ดนตรีช่วยฝึกสมาธิ หรือต้องมีสมาธิถึงฝึกดนตรี?
- อันไหนเป็นเหตุอันไหนเป็นผลช่างน่าคิด
- สมมติฐานใจคนเราประอบด้วยสองสิ่งคือ ผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ (อารมณ์)
- ธรรมชาติใจคนเที่ยวหาอารมณ์ที่มีความสุข
- ในพระพุทธศาสนาสมาธิมี 2 ประเภทคือสงบกับตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู


  • สมาธิประเภทแรก ตำราเขาเรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน คือสมาธิประเภทสงบอยู่กับอารมณ์อัน(สิ่งที่ถูกรู้)อันเดียว ตำราว่ามีความสุขเป็นเหตุใกล้ อันนี้มีสอนทุกศาสนา ถ้าเล่นดนตรีแล้วมีความสุขก็จะอยู่กับมันได้ทั้งวัน ถ้าเล่นแล้วเครียดๆ ไม่มีความสุขเอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่จะกลับบ้านอะฝึกไงก็ไม่สงบ
  • สมาธิประเภทที่สอง ตำราเขาเรียกว่าลักขณูปนิชฌาน จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นหนึ่งแต่อารมณ์(สิ่งที่ถูกรู้) ก็คือร่างกายและจิตใจเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สำหรับการเล่นดนตรีสมาธิชนิดนี้ต้องใช้เยอะเหมือนกันเพราะจะเล่นเพลงให้ดี ต้องจัดระเบียบร่างกายให้ท่าทางสวยงาม ส่วนจิตใจก็ต้องคิดเรื่องโน๊ตเพลง จังหวะ เล่นๆอยู่ใจแวบไปคิดถึงแฟน ฯลฯ ต้องหัดรู้ทันสภาวะที่เกิดในปัจจุบันบ่อยๆ ถ้ารู้ไม่ทันก็เล่นเพล่งไม่จบ(เพลงล่ม) เครื่องมือคือสติ (ความระลึกได้) โดยมีการรู้สภาวะบ่อยๆเป็นเหตุใกล้ๆ ถ้าสังเกตุจะเห็นว่าเวลาไปเรียนดนตรีครูดนตรีจะทำหน้าที่เหมือนคนจับผิด เดี๋ยว ข้อมืองอไป จัดท่าทางไม่ได้ ยกคันสีเร็วไป พวกนี้ถ้าไม่มีคนชี้ก็จะไม่รู้ แต่พอชี้บ่อยๆ พอจะผิดมันจะเกิดสติระลึกได้ จับมาเล่นให้ถูกท่า 


- สรุปการเล่นดนตีก็เป็นทั้งเหตุให้เกิดสมาธิและต้องมีสมาธิถึงฝึกดนตรีได้ เป็นทั้งเหตุและผลในตัวมันเอง

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สูตรการจูนเปียโน

ขอแชร์ความรู้ว่าด้วย "สูตรการจูนเปียโน" บทความจาก อาจารย์ ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอิ่นทร์ ครับ

อาชีพช่างจูนเปีนโนในเมืองไทย จริง ๆ เป็นอาชีพที่น่าสนใจมากเลยครับ เพราะยังมีช่างฝีมือด้านนี้น้อยมาก แต่ระดับที่จูนเก่ง ๆ จริง ก็มีแทบนับคนได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นอาชีพที่ทำเงิน ทำรายได้สูงกว่าเป็นครูสอนเปียโนอีกนะครับ (ระดับราคาจูนเสียง upright piano ขั้นต่ำก็ 1,200 บาทแล้ว สำหรับ grand piano ขั้นต่ำน่าจะ 2,000 บาท)

สมัยนี้ภาพที่เป็นคุ้นตาเมื่อช่างจูนเปียโนมาทำการจูนเสียง คือ มีอุปกรณ์จูนและก็มีเครื่องตั้งเสียง (Tuner) ซึ่งก็จะทำการจูนไปเรื่อย ๆ จากช่วงกลางของเสียงเปียโน ไล่ขึ้น ไล่ลง จนครบคีย์ การที่ช่างใช้วิธีจูนเช่นนี้จะได้เสียงที่เราเรียกว่า ระดับเสียงแบบแบ่งเท่า (Equal Temperament) ซึ่งผู้ที่นิยมชื่นชอบจนทำบทประพันธ์ขึ้นเป็นพิเศษแสดงถึงการไว้วางใจในระบบเสียงนี้ คือ J.S. Bach ซึ่งผลงานดังกล่าว คือ The Well-Tempered Clavier ซึ่งประกอบด้วย Prelude and Fugue ครบถ้วนทุกบันไดเสียงทั้ง Major 12 คีย์ และ minor 12 คีย์เลย นับเป็นปรากฏการณ์แรกที่เครื่องดนตรีคีย์บอร์ดสามารถเล่นได้ครบถ้วนทุกบันไดเสียงจากการจูนเสียงเพียงครั้งเดียว (ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้ระบบการจูนเสียงแบบ Mean tone และ Just Intonation ซึ่งจะให้ความไพเราะในคีย์หลักที่ตั้ง แต่ไม่สามารถ modulation ย้ายคีย์ไปได้มากเพราะจะเกิดการเพี้ยนเสียง)

ระบบที่ช่างจูนเสียงใช้ tuner เป็นเครื่องมือในการตั้งเสียงนั้น สามารถเรียกอีกอย่างว่าเป็น ระบบ Cent เช่นเดียวกับ centimeter หรือ การแบ่งหน่วยเป็น 100 นั่นเอง เป็นระบบ ล็อคการึทึม (logarithmic) ของหน่วยวัดระยะห่างระหว่างขั้นคู่เสียง ถ้าให้อธิบายต่อทางคณิตศาสตร์ ผมก็คงไม่สามารถเหมือนกันครับ 555 แต่อยากให้นึกจินตนาการถึงเครื่องตั้งเสียงดนตรีที่เป็นระบบเข็ม มันจะปรากฏเลข 0 ตรงกลางใช่ไหมครับ ด้านขวาจะมี +1 ไปจนถึง +50 ด้านซ้ายจะมี -1 ไปถึง -50 รวมกันแล้วได้ 100 พอดี สมมติเราจะตั้งเสียง C ให้ตรง ก็ต้องให้เข็มชี้มาที่เลข 0 แต่ถ้าเกิดเข็มชี้ไปทาง +50 นั่นคือแนวโน้มไปหา C# ถ้ามาทางซ้าย แนวโน้มก็จะไปหา B อธิบายอย่างนี้คงพอเห็นภาพนะครับ

แต่ระบบที่กล่าวมานี้ เป็นการตั้งเสียงที่เป็นไปตามหลักคณิตศาสตร์นะครับ ซึ่งยังมีนักดนตรีอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงมีความเชื่อว่า ระบบเสียงที่ดี ต้องมาจากการตั้งเสียงโดยหูของมนุษย์เรานี่เอง ซึ่งสูตรการตั้งนี้มาจากประสบการณ์ของผมที่ติดตามช่างจูนเปียโนชาวจีนผู้หนึ่ง น่าเสียดายที่จำชื่อท่านไม่ได้แล้ว เพราะเหตุการณ์มันตั้ง 20 ปีผ่านมาแล้วครับ 555 แต่ยังโชคดีจำสูตรการตั้งเสียงได้ ผมมีโอกาสตามช่างจีนคนนี้ไปจูนเสียงและลองสังเกตวิธีการ ปรากฏว่า ช่างไม่ได้ใช้ tuner อะไรเลยครับ ใช้ส้อมเสียง (Tuning fork) อันเดียว ? แต่สามารถจูนได้ทุกคีย์บนเปียโน

สูตรดังกล่าวเป็นดังนี้ครับ ขึ้น ลง ขึ้น ลง ลง ขึ้น ลง ลง ขึ้น ลง ขึ้น

5555 บอกแค่นี้คงจะงงล่ะซิ ใช่ไหมครับ ส้อมเสียง (Tuning fork) นั้นให้เสียงเราได้เพียงเสียงเดียวครับ คือ ลา หรือ A ที่ 440 Hz นั่นคือ A ที่นับขึ้นจาก Middle C นั่นเอง ซึ่งเมื่อเราจูนเสียงได้ A แล้ว วิธีการใช้สูตรคือ ขึ้น หมายถึง ให้ขึ้นไปคู่ 5 perfect ลง หมายถึง ให้ลงต่ำมาคู่ 4 perfect ดังนั้นถ้าเอา A เป็นตัวเทียบ ช่างจูนจะต้องฟังขั้นคู่ 5 และ คู่ 4 perfect ต่าง ๆ นี้ด้วยตนเอง ช่างบอกว่า คนที่จะมาความสามารถในการฟังนี้ ต้องฝึกฝนอย่างนานครับ ถึงจะหูดี และต้องมีความสามารถในการเล่นเปียโนได้ดีด้วยถึงจะเข้าใจว่า เปียโนที่จูนเสียงเรียบร้อยแล้วนั่น เหมาะสมต่อการเล่นของนักเปียโน มีเสียงที่กลมกลืนกัน มีน้ำหนักที่เท่ากันทุกคีย์

คราวนี้ถ้าเอา A เป็นตัวตั้งแล้วปฏิบัติตามสูตรจะได้เสียงต่าง ๆ ปรากฏดังนี้ครับ

A ขึ้น = E , E ลง = B , B ขึ้น = F# , F# ลง= C# , C# ลง = G# , G# ขึ้น = D# , D# ขึ้น = A# (หรือ Bb) , Bb ลง = F , F ลง = C , C ขึ้น = G , G ลง = D

ได้ครบตามโน้ต chromatic ใน 1 octave พอดิบพอดี หลังจากนั้นก็เทียบเป็นลักษณะ Octave ไปตามคีย์ต่าง ๆ ทั้งเสียงสูงและเสียงต่ำ ทำไปเรื่อย ๆ ก็ครบทุกแป้นเองครับ ระหว่างการจูนแบบนี้ต้องใช้หูตลอดเวลาครับ เป็นการฝึก ear training ที่โหดมาก 555

บางคนอาจจะถามนะครับว่า แล้วทำไมไม่จูนให้มันเป็นลักษณะวงจรคู่ 5 ไปเลย (circle of fifth) ให้มันสิ้นเรื่องสิ้นราว ไม่เป็นต้องทำตามสูตรเลย ก็ต้องขอตอบว่า การตั้งเสียงเป็นคู่ 5 perfect นั้น เป็นการตั้งในอัตราส่วน 3/2 ครับ อธิบายง่าย ๆ คือ ถ้า C = 100 Hz C อีกตัวที่สูงกว่า 1 octave จะมีอัตราส่วน 2/1 หมายถึง = 200 Hz นั่นเอง ดังนั้นถ้าต้องการคู่ 5 ของ C ในกรณีนี้ก็คือ 100 คูณ 3 หารด้วย 2 = Hz ที่เป็นความถี่ของ G ครับ ซึ่งตามหลักการนี้เมื่อจูนมาเรื่อย ๆ เสียงจะสูงขึ้น สูงขึ้น จนไม่สามารถเล่นเป็นขั้นคู่เสียง หรือ คอร์ดอะไรได้เลย (ยิ่งอธิบายยิ่งยากเนอะ ถ้าอยากรู้ต้องมาเรียนหลักการ acoustic แล้ว)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อจูนเสียงตามหลักที่ช่างจีนได้ใช้ ปรากฏว่าเสียงเปียโนฟังดูกลมกลืนกันดีมาก ผิดกับการจูนในปัจจุบันนี้ที่ฟังดูเสียงแข็งกว่า แต่ OK ครับ สำหรับใช้เล่น ใช้แสดง เพราะหูของมนุษย์มันก็ถูกปรับให้ชินกับแบบนี้ไปเสียแล้ว ที่เขียนมาก็เพียงเพื่อเล่าประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่ผมเคยมีโอกาสเรียนรู้นอกห้องเรียนให้ท่านรับรู้ ถ้ามันจะเป็นประโยชน์หรือเอาไว้คุยต่อกันสนุก ๆ ก็ดีครับ

เพิ่มเติม

เท่าที่ลองศึกษาดูเสียงจะออกมาเหมือน การตั้งเสียงระบบ FISCHER ครับ (THE FISCHER SYSTEM OF SETTING TEMPERAMENT) สูตรของ นักเปียโนจีนคือขึ้น "ห้า" ลง "สี่" ของระบบ FISCHER จะขึ้น "ห้า" ลง "แปด" และขึ้น "ห้า" เสี่ยงที่ ลง "สี่" กับ ลง "แปด" และขึ้น "ห้า" จะมีความถี่เท่ากันครับ
THE FISCHER SYSTEM OF SETTING TEMPERAMENT
ที่มา:Piano Tuning, by J. Cree Fischer, http://www.gutenberg.org/files/17571/17571-h/17571-h.htm

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รีวิวโน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว

โน๊ตเพลงก็คือการบันทึกเสียงดนตรีที่ประกอบด้วยปัจจัยหลักๆ ส่องส่วนคือ ระดับเสียง และจังหวะ (ความยาวเสียง) ลงแผ่นกระดาษด้วยสัญลักษณ์ที่ตกลงกัน ซึ่งนักดนตรีที่เขาใจสัญลักษณ์ที่ตกลงกันนี้ก็จะสามารถเล่นเป็นเพลงได้

โน๊ตสากล ก็เป็นการบันทึกรูปแบบหนึ่งผ่าน บรรทัด 5 เส้น และเครื่องหมายกำหนดจังหวะต่างๆ เช่นตัวขาว ตัวดำ ตัวเขบ๊ด ฯลฯ และสัญลักษณ์พิเศษอีกมากมาย ทำให้เป็นยาขมสำหรับนักดนตรีหลายท่าน

คุณ ส.พิณแก้ว ก็เห็นปัญหานี้ โดยลดทอนโน๊ตสากลให้เหลือ แต่ส่วนสำคัญที่เพียงพอจะเล่นเป็นเพลงได้ และนำจุดเด่นของโน๊ตอักษรของดนตรีไทย "ด ร ม ฟ" ที่เห็น "ด" ก็รู้ว่าเป็นเสียง "โด" เข้ามาเป็นโน๊ตไทยสากลที่ทำให้นักเรียนสามารถเล่นเป็นเพลงได้งายขึ้นมันเยี่ยมจริงๆ ท่านสามารถศึกษาแนวคิดการบันทึกของเขาได้ที่ http://www.ghfthailand.org/new_notation_content0.htm 

ตัวอย่างการอ่านโน๊ตเพลงสายฝน

ถ้าเรารู้แค่โน๊ต วรรคแรกที่ร้องว่า "เมื่อลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว" โน๊ตคือ "เร มี ซอล มี ฟา มี เร" ถ้าโชคดีฮัมทำนองเพลงได้ก็เล่นเป็นเพลงได้แต่ถ้าเป็นเพลงที่ไม่เคยได้ยินก็ไม่รู้ทำนองก้จะเล่นไม่เป็นเพลง โน๊ตสากลก็เข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ โดยระดับเสียงเป็นสัญลักษณ์อยู่บนบรรทัด 5 เส้น และความยาวเสียงเป็นตัวโน๊ต ตัวกลม ตัวขาว ตัวดำ ฯลฯ

การอ่านโน๊ตเพลงสายฝน ในโน๊ตสากล


โน๊ตเพลงสายฝน
(กดที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่)
ตัวอย่างโน๊ตเพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน" จะยกตัวอย่างว่ากว่าจะโน๊ตนี้เป็นเพลงได้ 4 ห้องต้องรู้อะไรบ้าง
  • เครื่องหมายกุญแจซอล บอกว่าเครื่องหมายโน๊ตอะไรที่อยู่บรรทัดที่ 2 นับจากข้างล่างคือเสียง "ซอล" อยากรู้โน๊ตตัวอื่นก็ไล่เสียงต่อเอา
  • ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น เรื่องคีย์ และโน๊ตในแต่ละคีย์ว่าตัวไหนติดช๊าป แฟลตบ้าง ในรูปมีเครื่องหมาย # อยู่ตรงเสียง "ฟา" นักดนตรีก็จะรู้ทันทีว่าเพลงนี้อยู่คีย์ G เวลาเล่นเพลงเห็นโน๊ตตัวฟาต้องเล่นเป็นฟาช๊าป (สูงกว่าเดิมครึ่งเสียง)
  • เครื่องหมาย 3/4 บอกว่าเพลงนี้ 1 ห้องเพลงมี 3 จังหวะ โดยโน๊ตตัวดำนับเป็น 1 จังหวะ
  • เริ่มเล่นห้องเพลงที่ 1
    • โน๊ตตัวแรกคือเสียง "เร" ตัวขาวยาว  2 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1 และ 2 ของห้องเพลง
    • โน๊ตตัวที่สองคือเสียง "มี" ตัวดำยาว 1 จังหวะ ลงจังหวะที่ 3 
  • เล่นห้องเพลงที่ 2
    • โน๊ตตัวแรกคือเสียง "ซอล" ตัวขาวยาว  2 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1 และ 2 ของห้องเพลง
    • โน๊ตตัวที่สองคือเสียง "มี" ตัวดำยาว 1 จังหวะ ลงจังหวะที่ 3
  • เล่นห้องเพลงที่ 3
    • โน๊ตตัวแรกคือเสียง "ฟา" ตัวขาวยาว  2 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1 และ 2 ของห้องเพลง
    • โน๊ตตัวที่สองคือเสียง "มี" ตัวดำยาว 1 จังหวะ ลงจังหวะที่ 3 
  •  เล่นห้องเพลงที่ 4
    • โน๊ตตัวแรกคือเสียง "เร" ตัวขาวประจุดยาว 2 จังหวะบวกอีกครึ่งของตัวเองคือ 1 จังหวะ รวมเป็น 3 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1, 2 และ 3 ของห้องเพลง

โน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว

เล่นแค่สี่ห้องต้องใช้ความรู้เยอะพอสมควรเลยทีเดียว คุณ ส.พิณแก้ว ก็ได้ประยุกต์โน๊ตสากลให้อ่านง่ายขึ้น เหลือแต่จุดสำคัญ และเอา วิธีบันทึกโน๊ตแบบไทยแบบ "ดรมฟ" ที่เสียง "โด" ก็เป็น "ด", "เร" เป็น "ร" ฯลฯ มาประยุกต์ กลายเป็นโน้ตไทยสากล ดังภาพ โดยวิธีอ่านก็เหมือนโน๊ตสากลข้างบน


โน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว
(กดที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่)

โดยสรุป โน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การสอนดนตรีเป็นเรื่องง่ายขึ้น เล่นเป็นเพลงโดยไม่ต้องบันทึกโน๊ตบนบรรทัด 5 เส้น และเป็นพื้นฐานที่ใช้ต่อยอดไปอ่านโน๊ตสากลได้ครับ มันเยี่ยมจริงๆ

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ตั้งเสียงเครื่องดนตรีไทยด้วย app บนมือถือ

ปัญหาของคนเรียนดนตรีไทยสิ่งหนึ่งคือเรื่องการตั้งเสียงครับ เพราะเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนกว่าจะตั้งเป็นก็ฝึกเทียบจนท้อ ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าสมาทโฟนฉลาดมากขึ้น มีหลาapp ที่ช่วยเราตั้งเสียงเครื่องดนตรี(tuner)ได้ ชีวิตดีขึ้นเยอะตามภาพ
ความแตกต่างระหว่างการตั้งเสียงแบบปกติ กับใช้เครื่องตั้งเสียงมาช่วยตั้งเสียง
แต่ปัญหาคือส่วนใหญ่ app จะตั้งค่ามาสำหรับตั้งเสียงเครื่องดนตรีสากล ไม่มี app สำหรับตั้งเสียงดนตรีไทยโดยเฉพาะครับ(ถ้ามีคนอ่านบทความนี้แล้วช่วยเขียนจะดีมาก) แต่ยังไงก้ไม่เหนือบ่ากว่าแรงเพราะหลาย app สามารถตั้งค่าให้มันตั้งเสียงเครื่องดนตรีไทยได้ครับ มาดูกันว่าเราจะตั้งค่าอย่างไร

การตั้งค่า Tuner ให้ตั้งเสียงดนตรีไทย

กระบวนการตั้งค่า tuner
การวัดค่าความถี่เสียงดนตรีไทยมีงานวิจัยมากมายครับ เข้าไปอ่านได้ที่ http://siambanlang.blogspot.com/2012/06/blog-post.html มีอาจารย์หลายท่านที่ทำงานวิจัยเรื่องนี้ครับ บทความนี้ขอใช้ตัวเลขจากงานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์เสียงโน๊ตหลักขลุ่ยเพียงออ (นางสาวฤดีรัตน ชินเวชกิจวานิชย, 2547 ) วัดความถี่ขลุ่ย และระนาดเอกเหล็กได้ค่าดังตาราง
ตารางแสดงความถี่เสียงของขลุ่ยเพียงออ และระนาดเอกเหล็ก
เมื่อได้ความถี่มาแล้วก็ต้องหาวิธียัดค่าความถี่เข้าโปรแกรมให้ได้

ใช้ app อะไรดี

หลังจากลอง app tuner มาหลายตัว ตัวที่ชอบที่สุดคือ pano tuner ครับ มีทั้ง android และ ios ฟรี
หน้าจอ pano tuner
ให้เราเข้าไปที่ setting ตรงปุ่มรูปตัว 'i' ที่มุมขวาล่างจะขึ้นหน้าจอดังนี้
เราสามารถตั้งค่าให้มันตั้งเสียงดนตรีไทยได้ดังนี้

1. การตั้ง Temperament

ฟังก์ชั่นนี้ต้องเสียตังค์ครับ ราคา 1.99 USD ประมาณ 60 บาทไทย แต่คุ้มเพราะตั้งค่าครั้งเดียวไม่ต้องปรับบ่อยๆ สมมติว่าท่านจ่ายเงินแล้ว
ให้จิ้มฟังค์ชั่น Temperament จะขึ้นหน้าจอ

จิ้มที่ Customize
กด Add a new temperament
จะตั้งเสียงไทยก็ตั้งชื่อว่าไทย จะขึ้นหน้าจอ ให้เราตั้งค่า
การตั้ง temperament คือการตั้งให้เครื่องรู้ว่าเสียงที่เราต้องการ ห่างจากเสียงปกติเท่าไรมีหน่วยเป็น cent (ระบบ 12 เสียงเท่า equal temperament) การคำนวณให้ใช้ตาราง Frequency to musical note converterจากเว็ป http://www.sengpielaudio.com/calculator-centsratio.htmใส่ความถี่จากงานวิจัยเข้าไปที่ช่อง Frequency แล้วกดปุ่ม what mote is this? ตารางก็จะคำนวณตัวโน๊ต และค่าที่บอกว่ามันห่างจากมาตรฐานเท่าไร ตัวอย่าง โน๊ตตัวโดของระนาดเอกเหล็กมีความถี่ 465.39 Hz ตารางก็คำนวณออกมาได้ว่าเป็นโน๊ต A# และค่าน้อยกว่าปกติ 2.87 cent
ให้ทำแบบนี้กับทุกค่าตั้งแต่โด ถึง ทีจะได้ค่าดังตาราง
นำค่าจากตารางไปใส่ในโนตแต่ละตัว ตามภาพต้องการเสียง Bb ที่ต่ำกว่าปกติ 2.82 cent ก็จิ้มไปที่ Bb แล้วจะมีหน้าต่างให้ตั้งค่าเราก็ใช่ตัวเลข -2.87 ลงไป
 ทำอย่างนี้กับทุกตัวโน๊ต เหนื่อยครั้งแรกแต่ครั้งต่อไปจะสบาย
 จากนั้นกลับมาที่หน้าจอ Temperament กดปุ่ม Temperament
ให้เลือก Temperament Thai ที่เราสร้างไว้
ทีนี้กลับมาที่หน้าจอหลักเราก็สามารถตั้งเสียงดนตรีไทยได้เลย

จากตารางเมื่อกี้ที่เราคำนวณไว้ สมมติเราต้องการตั้งเสียง เรซึ่งความถี่ใกล้เคียงกับเสีง C ของสากล สมมติเราเคราะแล้วเครื่อง tuner ได้ค่าตามภาพแสดงว่าเสียงสูงไป ให้ลดเสียงลงหน่อยจนขีดแดงๆ ตรงกับเสียง C เราก้จะได้เสียง เร ที่ตามที่ต้องการครับ บรรยายมันไม่เห็นภาพดูเป็นวิดิโอดีกว่าในวิดิโอเป็นการตั้งเสียง guitar ครับ