หน้าเว็บ

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

Harmonic Major Scale และการใช้งาน

Harmonic Major Scale บทความจาก บทความจาก Khon Kaen Jazz Society [1]ครับ

Harmonic Major Scale ก็คือ Major b6 นั่นเอง ดังนั้นถ้าเขียนเป็น Numerical Form (Relative to the Major Scale) ก็จะประมาณนี้

1 2 3 4 5 b6 7

Modes of Harmonic Major ถ้าว่ากัน “ตามสูตร” ก็จะประมาณนี้

1. Ionian b6
2. Dorian b5
3. Phrygian b4
4. Lydian b3
5. Mixolydian b2
6. Aeolian b1
7. Locrian b6 หรือ bb7.

Mick Goodrick เคยพูดใน Column ของเขาในหนังสือ Guitar Player ว่าเขาชอบที่จะใช้สเกลนี้อยู่ 1 หรือ 2 Modes และที่เขาชอบใช้เช่น

ใน Phrygian Version ซึ่งหมายถึง Phrygian b4 นั้น Mick Goodrick บอกว่ามัน “เจ๋ง” และ” “เข้าท่า” มาก เมื่อเล่น Against บนคอร์ด 7#9 b13 หรือ 7 b9 b13 (แล้วอะไรต่อ? จำไม่ได้อ่ะ)

และสำหรับ Lydian b 3 ล่ะ? คือ ถ้าคุณ Flat 3rd คุณก็จะได้ Minor ไม่ใช่เหรอ? สำหรับ Mick Goodrick เขาบอกว่า ถ้าขืนยังเรียก Lydian อยู่นี้สับสนตายห่าเลย จริงๆมันควรจะเรียกว่า Jazz Melodic Minor Scale with a Raised 4th มากกว่า (*** สำหรับตัวอย่างการใช้ของเขาผมคงต้องไปค้นหาดูก่อน กลัวเขียนผิด***)

ดังนั้น C Harmonic Major ซึ่งก็คือ C D E F G Ab B มันก็น่าจะถูกใช้ใน Progressions ประมาณว่า Fm – Cmaj7 (IVm – Imaj7), Abmaj7 – Cmaj7 (bVImaj7 – Cmaj7) หรือ G7(b9) – C maj7 (V7(b9) – I maj7) ซึ่งจริงๆแล้วเราก็พบออกจะบ่อย นั่นก็คือสำหรับผมมองมันเป็นแค่ Options บางอย่างแค่นั้นเอง (คล้ายๆกับ Subdominant Minor)

แต่ ถ้าคุณพิจารณา Mode of Harmonic Major ที่ผมเขียนแบบตามสูตรเป๊ะๆ ข้างต้นแล้ว ผมว่าหลายคนคงจะตะหงิดๆ กับเจ้าโหมด Lydian b3 หรือ Aeolian b1 แน่ๆ มันขัดความรู้สึกยังไงก็ไม่รู้ ดังนั้นผมจึงนำมาจัดเรียงแล้ว ตั้งชื่อให้มันเหมาะสมกับ Characteristic ของมัน ซึ่งน่าจะเข้าท่าเข้าทางกว่า ที่จะ “เถรตรง” เรียกชื่อตามสูตรแบบทื่อๆ

ดังนั้นสำหรับ Mode of Harmonic Major ที่เขียนใหม่จึงน่าจะเป็นดังนี้

Ionian b6 หรือ Maj7(9 11 b13)
Dorian b5 หรือ m7(b5) (9 11 13)
Phrygian b4 หรือ 7(b9 #9 b13)
Lydian-Minor หรือ mMaj7(9 #11 13)
Mixolydian b2 หรือ 7(b9 11 13)
Lydian-Augmented #2 หรือ +Maj7(#9 #11 13)
Locrian-Diminished หรือ dim7(b9 11 b13)

เห็นไหมครับ เข้าใจง่ายและสะดวกกว่ากันเยอะเรยย

คราวนี้ลองมาพิจารณาถึงการนำไปใช้กันบ้างกรณีเราอยากได้ Harmonic Major Sound สำหรับ IIm7 – V7 – Imaj7

*** คอร์ด Dm7:

- อันนี้ใช้ D Dorian หรือ Dm7(9 11 13) ปรกติจะดีกว่า ***

*** คอร์ด G7:

- ใช้ G Mixolydian b2 (5th Mode จาก C Harmonic Major) หรือ G7(b9 11 13)

- หรือใช้ G Phrygian b4 (3rd Mode จาก Eb Harmonic Major) หรือ G7(b9 #9 b13)

*** คอร์ด Cmaj7:

- ใช้ Ionian b6 หรือ C Harmonic Major หรือ Cmaj7(9 11 b13)

- หรือใช้ C Lydian-Augmented #2 หรือ C+Maj7(#9 #11 13)

*** สำหรับคอร์ดอื่นๆ:

คอร์ด Minor/Major7:

- ใช้ Lydian Minor หรือ mMaj7(9 #11 13) Sound ตาม Root

คอร์ด Half-Diminished:

- ใช้ Dorian b5 หรือ m7(b5)(9 11 13) Sound ตาม Root

คิดต่อไม่ออก งั้นก็แค่นี้ก่อนนะครับ

[1]https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/573200239412284

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

คอร์ด Minor 7(b5) หรือ Half-Diminished

คอร์ด Minor 7(b5) หรือ Half-Diminished บทความจาก KhonKaenJazzSociety[1]

คำเตือน: บทความนี้เป็นเพียงการลำดับความคิดของผู้เขียน ถูกเขียนขึ้นด้วยการ “นั่งเทียน” นึกเอาเอง ไม่มีหนังสืออ้างอิงแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงเชิงวิชาการได้เด็ดขาด

ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่า ทั้งสองชื่อไม่ว่าจะเป็น m7 (b5) หรือ Half-Diminished นั้นก็คือมัน Refer ถึงคอร์ดเดียวกัน

การสร้างคอร์ดนี้ จาก C Root จะได้: C Eb Gb Bb ตามลำดับ หรือวิเคราะห์ได้ว่า Root, m3, dim 5, และ m7 สำหรับการเขียนเราจะพบในรูปแบบ Cm7(b5) หรือ CØ

ผมขอเสนอ 3 วิธีในการสังเกตคอร์ดนี้ (อาจมีข้อขัดแย้งเล็กน้อย)

1) เราสามารถมองมันเป็นคอร์ด Minor 7th ที่คู่ 5th ของมันถูกลดลง 1/2 Step นี่คือทำไมคนถึงเรียกว่าคอร์ด m7(b5)

2) ทั้ง 4 Notes ของคอร์ด Half-Diminished ยังถูก Inverted เป็นคอร์ด Minor 6 (Third Inversion) ตัวอย่าง

Cm7(b5) = Ebm6 ที่คู่ 6th เป็น Bass (บางทีเขียน Ebm6/C หรือ Ebm/C) ซึ่งหมายถึงในคีย์ Db นั้นคอร์ด Cm7(b5) เป็นทั้ง VII และ/หรือ เป็น Inversion ของ II แต่เป็น II of VI

Dizzy Gillespie (อันนี้ผมอ่านใน Autobiography ของเขา) ได้พูดถึงการค้นพบของเขาในคอร์ด m6 ด้วยคู่ 6th ใน Bass และพูดถึงว่ามันได้ส่งถึง Huge Impact กับดนตรีของเขา (อันนี้เดี๋ยวว่ากันวันหลัง)

3) สุดท้าย ในมุมมองอื่นๆ คือว่า เราสามารถมองเป็นคอร์ด Diminished ที่คู่ 7th ถูกเพิ่มยกขึ้น 1/2 Step นั้นคือทำไมบางคนถึงเรียกคอร์ด Half-Diminished อย่างไรก็ตามให้จำไว้ว่าคู่ 7th ของคอร์ด Diminished จริงๆมันเป็น M6th

ถ้าว่าคอร์ดถูกสร้างบน Diminished Triad (C Eb Gb) มันก็ดูเหมือนจะ Make Sense ที่เราจะคิดว่ามันสังกัดอยู่กับ Diminished Family

*** สิ่งที่น่าสับสนสำหรับเด็กๆคือ นักทฤษฎีมักจะคิดหรือสอนอะไรที่ดู Very Opinionated ในบางครั้งและดูเหมือนจะชอบคิดให้มีคำจำกัดความแค่คำจำกัดความเดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง แต่ก็ช่างเถอะคิดยังไงมันก็เรื่องของเขา สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจ ด้วยการพูดคุยกับนักดนตรีด้วยกันแล้วยอมรับในข้อเท็จจริงที่มัน Refer ถึงคอร์ดนั้นๆก็จบ

Functional Harmony:

ตอนนี้ เรามาพิจารณาว่าเราจะหาคอร์ด m7(b5) หรือ Half-Diminished ได้ที่ไหน?

เมื่อดูถึงที่มาของ Diatonic Seventh Chords จาก 4 Parent Scales (หรือเรียกอีกอย่างว่า Source Scales) เราจะพบคอร์ดนี้ในฐานะ

- คอร์ด VII ใน Major หรือคอร์ด II ใน Relative Minor ของมันเอง(Natural Minor Scale)
- คอร์ด II ใน Harmonic Minor
- คอร์ด II ใน Harmonic Major
- คอร์ด VI และ VII ใน Melodic Minor

ถ้าเราดูที่ Turnaround ง่ายๆใน Minor Key โดยทั่วไปเราสามารถหาได้ที่:

Im6 - VIm7(b5) - IIm7(b5) - V7

ในคีย์ Cm สำหรับ Progression นี้จะเป็น:

Cm6 - Am7(b5) - Dm7(b5) - G7

เรามาลองหาตัวอย่างอื่นๆมาดูกันต่อ:

ในเพลง "Autumn Leaves" (ในที่นี้เอาคีย์ Gm ก็แล้วกันเพราะคีย์ Em มันเฝือแล้ว) คอร์ด Am7(b5) ในห้องที่ 5 นั้นเป็นทั้ง VII ใน Bb และ II ใน Gm (Relative Minor) คอร์ดลักษณะเช่นนี้เรารู้จักกันว่าเป็น "Pivot Chord" ด้วยเพราะว่ามัน Serves a Function ในคีย์ที่มันมาและ Function ในคีย์ที่มันเข้าไป "Pivot Chord" มักจะสร้าง Abrupt Modulation เล็กน้อย

ในเพลง "All The Things You Are" (คีย์ Ab) คอร์ด F#m7(b5) ในห้องที่ 21 ก็เป็น “Pivot Chord" ด้วย คือมันเป็น VII ใน G (คีย์ที่มันมา) และเป็น II ใน E (คีย์ที่มันเข้าไป) บางคนอาจถามว่าทำไม II ของ Major Key อย่างเช่น E สามารถเป็นคอร์ด Half-Diminished ในเมื่อควรเป็นคอร์ด m7? อันนี้คือเราเรียกว่า "Borrowed" Chord คือเราสามารถเห็นมันมาจากทั้ง Parallel Key ของ Em หรือจาก E Harmonic Major ใน Diatonic System หรือเหตุผลหลักคือคอร์ด F#m7(b5) เป็น Modulation ที่ Smooth กว่าจาก G ไป E

การใช้คอร์ดนี้ในฐานะเป็น Substitution:

Substitution แบบง่ายคือ เปลี่ยน m7 ของ ii-V7 เป็นคอร์ด Half-Diminished ด้วยโน้ต Flatted 5th ได้ให้ Tension ที่แตกต่างเป็นการเฉพาะที่ไม่มีการ Altered จริงๆใน Chord Quality

ถ้าหรือเมื่อ Melody สามารถยอมให้มันทำได้หรือรองรับได้ คอร์ด bIIm7(b5) ก็สามารถ Substituted for คอร์ด IMaj7 ได้ ดูตัวอย่างในเพลง "Meditation" โดย Antonio Carlos Jobim (คีย์ C) คอร์ด F#m7(b5) สามารถถูกใช้แทนที่จะเป็น FMaj7 ใน 2 ห้องแรกของท่อน Bridge ผมคิด(เดา) ว่าคอร์ด F#m7(b5) และ FMaj7 คงมี Common Note น้อยกว่า 3 Notes กระมัง หือ!

การใช้คอร์ดนี้ในฐานะเป็น Upper-Structure:

Upper-Structure คือคอร์ดหรือ Arpeggio หนึ่งที่ถูกเล่นบนอีกคอร์ดหนึ่ง (และไม่จำเป็นที่จะแทนที่ Original Chord) หรือใช้ Upper-Structure เพื่อเล่นในฐานะคอร์ดเมื่อเล่น Comping หรือใช้เป็น Arpeggiated Single-Note Line เมื่อ Improvising

จำได้ไหมที่ผมว่า คอร์ด Half-Diminished นั้นก็คือ Inversion ของคอร์ด m6 ดังนั้นเมื่อเราเล่นคอร์ด I ใน Minor Key (Tonic Minor) เราก็สามารถเล่นคอร์ด Half-Diminished จาก 6th ของคอร์ดนั้นได้ด้วย

ตัวอย่าง: สำหรับคอร์ด Dm6 เราเล่น Bm7(b5)

การใช้คอร์ด Half-Diminished ที่น่าสนใจในฐานะ Upper-Structure มักจากการเล่นบนคอร์ด Dominant:

ตัวอย่างเช่น:

สำหรับคอร์ด C7(9) เราเล่นคอร์ด Em7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ 3rd ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C+7(b9) เราเล่นคอร์ด Bbm7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ 7th ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C7(#9 #11) เราเล่นคอร์ด Cm7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จาก Root ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C7(#9 13) เราเล่นคอร์ด Am7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ 13th ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C7(#11 13) เราเล่นคอร์ด F#m7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ #11th ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C7(b9 #9 #11 13) เราเล่นคอร์ด D#m7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ #9th ของคอร์ด Dominant)

Substitution for The Half-Diminished Chord:

ในบริบทของ IIm7(b5)-V7 นี้มี Diatonic Substitutions ธรรมดา แต่ว่าน่าสนใจสำหรับคอร์ด II ดังตัวอย่างต่อไปนี้:

ในต้นเพลง "Night & Day" แทนที่เราจะเล่น Dm7 (b5) - G7 นั้น เราสามารถเล่น AbMaj7 - G7 แทนได้ ซึ่ง สูตรสำหรับ Substitution นี้คือ เล่น Maj7 จากคู่ b5 ของคอร์ด IIm7(b5)

ในต้นเพลง "I Love You" แทนที่เราจะเล่น Gm7(b5) - C7 นั้น เราสามารถเล่น Bbm7(9) - C7 แทนได้ ซึ่งสูตรสำหรับ Substitution นี้คือ เล่นคอร์ด m7 จากคู่ m3 ของคอร์ด IIm7(b5)

ทั้ง 2 ตัวอย่างข้างต้นนับเป็นการ Substitution ที่สวยงาม ก็ด้วยเพราะคอร์ด V7 นั้นถูก Approached ทั้งโดย1/2 Step (Down) และโดย Whole-Step (Up) และดูที่ Root Movements จะเป็นการ Break ความเป็น Monotony ของเบสที่มักเคลื่อนที่เป็น Perfect Fourths

แค่นี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ คิดต่อไม่ออก ระวังธาตุไฟเข้าแทรกนะ

https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/545608125504829

วิธีใช้คอร์ทจบเพลงแบบ Turn-Arounds (Cadences)

Turn-Arounds (Cadences) บทความจาก Khon Kaen Jazz Society [1]ครับ

วันนี้เขียนเรื่อง Basic ง่ายๆ ชิลด์ๆ ดีกว่าเนอะ จริงๆความรู้ขั้น Basic นี้สำคัญเป็นที่สุดเลยนะ อีกอย่างดูเหมือนในเพจเราจะมีเด็กๆ ที่เพิ่งหัดใหม่เป็นคนส่วนใหญ่ จากที่ดูคำถามใน Inbox นะ

Turn-Around คืออะไร?

Turn-Around ก็คือ Cadence หรือ Chord Progression เล็กๆสั้นๆ ที่เรามักพบในท้าย Section ของเพลง หรือที่ท้ายของแต่ละห้อง 8, 16 หรือ 32 Bars ใน AABA Form หรือ ในในตอนท้ายของแต่ละ 12 Bars ใน Blues

Turn-Around มักจะบ่งบอกว่าเป็นส่วนท้ายของ Section และหน้าที่ของมันคือการกลับไปที่ Tonic Key เพื่อไปเริ่ม Section ต่อไป นั่นคือเหตุผลที่เราเรียกว่า Turn-Around ครับ เจ้า Turn-Around ยังสามารถถูกใช้ในฐานะของ Static Vamp หรือ "A Chord Progression that Goes Nowhere" เพื่อใช้ในการฝึกซ้อมโซโลด้วย ดูตัวอย่าง

Turn-Around: Cmaj7 - A7 - Dm7 - G7

ตัวอย่างข้างต้นคือ I-VI-II-V Progression เราอาจใช้ Variation หรือแทนที่ I ด้วย III ได้ ก็จะกลายเป็น III-VI-II-V Progression แต่ดูไปมันก็ง่ายเกินไปเนอะ ยังกะหมูในอวย เราก็มีวิธีที่จะ Jazz Up ในวิธีการอันหลากหลาย เช่นพวกโน้ตใน Higher Degrees ก็สามารถนำมาเพิ่มในคอร์ดหรือการใช้ Chord Substitutions ก็ใช้ได้เช่นกัน (หวังว่าคงจะรู้เรื่องทำนองนี้มาแล้วนะ)

แบบที่ 1 – ฟังดู Jazzier ขึ้นโดยใช้ Tensions, Alterations

• Cmaj7- A7b9 - Dm7 - G7b9
• C6/9 - A7 - Dm11 - G13
• C6 - A7b9 - Dm7 -G7#5#9

แบบที่ 2 – ฟังดู Jazzier ขึ้นโดยใช้ Chord Substitutions

• C6/E - Ebdim- Dm7 - G9
• Em7 - A9 - Dm7 - G9
• Em11 - A11 - Dm11 - G11
• Em7 - A7b9 - Dm7 - G7b9
• Em7 - A13 - Dm7 - G13
• Em7b5- A7alt- Dm7 - G7
• E7#9 - A13 - D7#9 - G13
• C6 - A7#9 - D13 - G7#9
• C6 - Am7 - Ab7 - F/G
• Cmaj9- A13 - Ab7b5- G13
• C6 - Eb13 - D13 - Db13
• C/E - Eb13 - D7 -Dbmaj7
• Em7 - Eb7 - Dm11 - Db7b5
• Em9 - Eb9 - Dm9 - Db9
• Cmaj7-Ebmaj7-Abmaj7-Dbmaj7#11

แบบที่ 3 – อันนี้คือการที่เราทำ Reharmonization แบบค่อนข้างจะหลุดกรอกนิดนึง หุหุ

• C6 - F#/E - Dm7 - E/D
• C6/9 - Bbdim- Adim - Abdim
• Cmaj7- F#/A - F/D - E/G
• C7#9 - A13/C- B/C - Ab/Bb
• C13 -Ebmaj7- F7 - Db13
• Am7 - Cm/C#- B/C - F4/B
• Am7 - Ab7 -G7sus4- Ab7
• Am7 - Bbm7 - Am7 - Abm6
• Am7 -Abmaj7-G7sus4- Ab/Bb

(ผมยังค่อนข้างเป็นห่วงเด็กๆว่า คุณจะยังเห็น Relationship ระหว่าง Turn-Arounds เหล่านี้กับ Original หรือเปล่า ก็ด้วยในแบบที่ 3 มันอาจไม่ได้วิเคราะห์ Chord Substitution แบบตรงๆ สำหรับมือใหม่อาจจะงงๆ ถ้างง ก็ปล่อยให้ผ่านไปก่อนเน้อ)

การใช้ Minor Pentatonic Scales ในการเล่นบน Turn-Arounds

หันกลับมาที่ Turn-Around: Cmaj7 - A7 - Dm7 - G7 วิธีที่ง่ายที่สุดคือใช้ Minor Pentatonic Scale หรือคิดไม่ออกก็อาจใช้ E Minor Pentatonic Scale บนทั้ง Progression โลด แต่แหม ...ง่ายไปหรือเปล่า

จัดให้ก็แล้วกัน จริงๆเคยเขียนหลายร้อยรอบแล้ว คือใช้ Minor Pentatonic Scales ประมาณนี้ก็ได้:

- Cmaj7 - E Minor Pentatonic, A7 - E Minor Pentatonic, Dm7 - A Minor Pentatonic, G7 - D Minor Pentatonic

- Cmaj7 - B Minor Pentatonic, A7 - C Minor Pentatonic, Dm7 - A Minor Pentatonic, G7 - Bb Minor Pentatonic

- Cmaj7 - A Minor Pentatonic, A7 - C Minor Pentatonic, Dm7 - A Minor Pentatonic, G7 - Bb Minor Pentatonic

- Cmaj7 - E Minor Pentatonic, A7 - G Minor Pentatonic, Dm7 - E Minor Pentatonic, G7 - F Minor Pentatonic

Scale Choices ในการเล่นบน Turn-Arounds

ใน Turn-Around ประมาณ Cmaj7 - A7alt - Dm7 - G7alt. เราสามารถใช้สเกล ประมาณนี้ (จริงๆมันแล้วแต่คุณชอบนะ):

- Cmaj7 - C Ionian, A7alt - A Alt Scale = Eb Lydian b7 ( = Eb Overtone), Dm7 - D Dorian, G7alt - G Alt Scale = Db Lydian b7

การฝึกซ้อม Turn-Arounds

ให้เราฝึกซ้อม Turn-Arounds ทั้งหมดที่กล่าวมาในทุกๆคีย์ แล้วลองเล่นหรือคิดในหลายวิธีการในการ Reharmonize เจ้า Turn-Around นี้

การใช้ Turn-Arounds

Turn-Arounds ที่กล่าวมาเหล่านี้ เราสามารถใช้ได้โดย:

• เมื่อเล่น Comping, หรือเมื่ออยากสร้าง Variation
• ใช้เล่น Soloing อันนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ผมใช้เล่น "Out" เล็กๆ
• เมื่อใช้ประพันธ์เพลง หรือเขียนเพลง ประมาณว่าให้ฟังดู Stand Out ดูเหมือนจะฉลาดๆหน่อย

จบแค่นี้ก่อน แบ่บ...นึกต่อไม่ออก...

ที่มา https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/533965583335750