หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ดนตรีกล่อมนอน ฝึกจิต ปรับคลื่นสมอง เสียงผู้หญิง

ใครนอนไม่หลับ คลิปนี้ช่วยได้



คนเราก็ชอบคิดนู่นคิดนี้นอนไม่หลับ กลิ้งไปกลิ้งมาทรมานชิบ

คลิปนีี้ช่วยให้เราหยุดคิดไปทำกิจกรรมอื่นบ้าง ให้มันเพลินๆเดี๋ยวก็หลับ



โดยธรรมชาติจิตจะชอบแส่สายไปนู่นนี่นั่นเรื่อยๆ ฟุ่งซ่านไปเรื่อย พอเราเห็นว่าใจฟุ้งซ่านก็เริ่มรำคาญใจ เริ่มหาวิธิอยากหายฟุ่งซ่าน แต่ยิ่งแก้ยิ่งฟุ้ง



เคล็ดลับของสมาธิคือความสุข ถ้าจิตมีความสุขก็จะไม่ดิ้นไปไหน หลายคนอยู่กับ ลมหายใจ ท้องพองยุบ ฯลฯ แล้วมีความสุขสมาธิก็จะเเกิด

คลิปนี้เป็นทางเลือก ไม่ต้องคิดมากเขาให้ทำอะไรก็ทำไปถ้าชอบสมาธิก็มาเองละ หลับสบายหรือถ้าไม่หลับก็ยังมีเพลงฟัง









ของแถมเคล็ดสมาธิแบบทันใจ

 http://www.dhammada.net/2011/05/14/9164/



หลวงพ่อปราโมทย์: สมถกรรมฐาน มุ่งไปที่ความสุข ความสงบ ความดี วิปัสสนามุ่งให้เกิดปัญญา ปัญญาคือการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้น วัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน วิธีการก็ไม่เหมือนกัน เราจะต้องเรียน ต้องแยกแยะให้ออกนะว่า การดำเนินจิตแบบไหนเป็นสมถกรรมฐาน การดำเนินจิตแบบไหนเป็นวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าแยกไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไปทำสมถะ แล้วคิดว่าทำวิปัสสนาอยู่



สมถกรรมฐาน หลักการของมัน ไม่ยากเท่าไหร่ หลักการของสมถกรรมฐานก็คือ ให้เราสังเกตความจริงของจิตใจของเราเองก่อน จิตใจของเรานั้น ร่อนเร่ ซัดส่าย ตลอดเวลา เดี๋ยวหลงไปทางโน้น เดี๋ยวหลงไปทางนี้ เดี๋ยวจับอารมณ์อันโน้น เดี๋ยวจับอารมณ์อันนี้ ฟุ้งซ่าน จับอารมณ์โน้นอารมณ์นี้ จิตใจนั้นเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง อุตลุดตลอดเวลา คนที่ภาวนาไม่เป็นก็พยายามบังคับใจ ให้สงบ ให้ดี บังคับยังไงมันก็ไม่สงบนะ มีแต่เครียด เพราะฉะนั้นพวกที่ภาวนาแล้วเครียดนะ แสดงว่าไปทำสมถะแบบผิด ผิดวิธีด้วย ถ้าทำถูกวิธีจะไม่เครียด



จิต ถ้าเรารู้จักลักษณะของจิตนะ จิตมันคล้ายๆเด็ก เหมือนเด็กซนๆคนหนึ่ง จิต เดี๋ยวก็วิ่งไปทางโน้น เดี๋ยวก็วิ่งไปทางนี้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ จิตมันเป็นอย่างนี้ ถ้าเราทำสมถะผิดนะ ก็คล้ายๆว่าเราเอาไม้เรียวไป ไปยืนเฝ้าเด็กไว้ บังคับไม่ให้มันกระดุกกระดิก เด็กมันจะเครียด จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราไปบังคับให้มันนิ่งนะ มันจะเครียด เราต้องใช้อุบายวิธี หาอารมณ์ที่จิตชอบใจมาเป็นเหยื่อล่อ หาอารมณ์ที่จิตชอบใจมาเป็นเหยื่อล่อ คล้ายๆกับว่า เรารู้ว่าเด็กคนนี้ชอบกินไอติม เราก็บอกเด็กว่า อย่าซนนอกบ้าน มา เข้ามาในบ้าน มากินไอติมให้สบายใจ เห็นมั้ย เด็กจะสมัครใจเข้ามาในบ้าน เด็กก็มีความสุขด้วย ใช่มั้ย แล้วเด็กก็ไม่ร่อนเร่ออกไปนอกบ้านด้วย



หลักของการทำสมถกรรมฐานก็แบบเดียวกัน เราต้องเลือก ว่าจิตใจของเรานี้ รู้อารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข บางคนรู้ลมหายใจแล้วมีความสุข ก็รู้ลมหายใจไปอย่างมีความสุข ไม่ต้องไปคิด ว่าจะทำอย่างไรจิตจะสงบ ถ้ารู้ลมแล้วสบายใจนะ รู้ลมไป บางคนดูท้องพองยุบแล้วจิตสบายใจ ก็ดูท้องพองยุบ บางคนเดินจงกรม บางคนภาวนาพุทโธ บางคนขยับมือ ทำจังหวะแบบหลวงพ่อเทียน ทำแล้วจิตใจสบาย มีความสุข ก็ทำอย่างนั้น ความสุขนี้แหละเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ พอจิตมันมีความสุขนะ จิตจะไม่หนี ซัดส่าย ไปที่อื่น มันจะเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ที่มันมีความสุข นี่เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้



เพราะฉะนั้นบางคนภาวนานะ ทำอย่างไรก็ไม่สงบๆ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะไปพยายามบังคับจิตให้สงบ มันไม่ยอมสงบหรอก ต้องหาอารมณ์ที่มีความสุขมาล่อมัน ยกตัวอย่างหลวงพ่อตอนเด็กๆ หลวงพ่อชอบลมหายใจ ไปเรียนหายใจออก หายใจเข้า จากท่านพ่อลี วัดอโศการาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒ ส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด พอหายใจแล้วมีความสุข พอมีความสุขแล้วจิตสงบ คล้ายๆเด็กได้กินไอติม เด็กก็ไม่ไปซน นี่เคล็ดลับของสมาธินะ เคล็ดลับของสมถะ คือเลือกอารมณ์ที่เรามีความสุข แล้วจิตจะสงบเอง ถ้าจิตสงบโดยที่ไม่ได้บังคับ จิตจะไม่เครียด



ถ้าคนไหนภาวนาแล้วก็เครียด แสดงว่าสมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่มี ถ้าภาวนาแล้วจิตใจมีความสุข มีความสงบ อยู่ในตัวเอง ได้สมถะ โดยไม่ได้บังคับ ทีนี้พอมีความสุขแล้ว มีความสงบแล้ว อย่าหยุดอยู่แค่นี้ ถ้าลำพังการปฏิบัติธรรมนะ มุ่งเอาความสุข ความสงบ ยังตื้นเกินไป ศาสนาพุทธมีสิ่งที่ปราณีต ลึกซึ้ง กว่านั้นอีกเยอะ ลำพังแค่ภาวนาเพื่อให้จิตมีความสุข มีความสงบเนี่ย ไม่มีพระพุทธเจ้า เขาก็สอนกันได้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา แล้วคนอื่นไม่มี คือ วิปัสสนากรรมฐาน

เพลงสากลแปลไทย ไว้ฝึกภาษาอังกฤษ

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีใส่คอร์ททำนองเพลงแบบง่ายๆ

วิธีใส่คอร์ททำนองเพลงแบบง่ายๆ ถ้ารู้โน๊ตจังหวะตก

คีย์เมเจอร์


ตำแหน่งใน scaleตัวโน๊ต
1C
2D
3E
4F
5G
6A
7B

คิดอะไรไม่ออกก็ใส่คอร์ทหลักๆ คือคอร์ท I, IV, V ก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนที่หลัง


ตำแหน่งใน scaleคอร์ท
1,3,5I (C)
2,4,5,7V(G),V7(G7)
1,4,6IV(F)
ตัวอย่างการประสานเสียงเสกล C major ด้วยคอร์ท I, IV, V

คีย์ไมเนอร์

ตำแหน่งใน scaleตัวโน๊ต
1A
2B
3C
4D
5E
6F
7G#

คิดอะไรไม่ออกก็ใส่คอร์ทหลักๆ คือคอร์ท i, iv, V ก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนที่หลัง


ตำแหน่งใน scaleคอร์ท
1,3,5i (Am)
2,4,5,7V (E), V7 (E7)
1,4,6iv (Dm)
ตัวอย่างการประสานเสียงเสกล A minor ด้วยคอร์ท i, iv, V


ที่มา 
Alfred's Essentials of Music Theory: A Complete Self-Study Course for All ...
 โดย Andrew Surmani,Karen Farnum Surmani,Morton Manus

http://books.google.co.th/books?id=jM6kMIot1PoC

ทางคอร์ท


คิดไม่ออกว่าจะใส่คอร์อะไรให้สวยๆก็ใช้ทางคอร์ทไป

ทางเดินคอร์ท
ที่มา http://jvalentino.blogspot.com/2007/05/instant-bach-goes-open-source.html

ถ้าเล่นคอร์ดเดิมจนเบื่อก็หาคอร์ทมาใส่แทนบ้างก็ได้
คอร์ทแทนแก้เบื่อ
ที่มา http://www.jkornfeld.net/reharmonizations_substitutions.pdf
ศึกษาเรื่องคอร์ทแทนได้ที่ http://www.jkornfeld.net/reharmonizations_substitutions.pdf มันเยี่ยมจริงๆ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เล่นไวโอลิน นิ้วสั้น กดไม่ถึง

ปัญหาใหญ่ของคนเล่นไวโอลิน หรือเครื่องสายทุกชนิด คือกดไม่ถึง เทคนิคคุณมะอุ๋ยช่วยได้เพียงแค่เปลี่ยนรูปแบบการวางมือนิดเดียวมันยอดมาก

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Warm-Up Technic อบอุ่นร่างกายก่อนที่จะเล่นดนตรี

การเล่นดนตรีท่าร่างกายเกร็งๆ ก็จะเล่นไม่ออก ฟีลทางดนตรีไม่มี

อบอุ่นร่างกายก่อนที่จะเล่นดนตรีช่วยได้

พ.อ. ชูชาติ พิทักษากร ได้นำเสนอวิดิโออบอุ่นร่างกายเพื่อให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ มีประโยชน์มากสำหรับคนเล่นเครื่องสายโดยเฉพาะไวโอลิน วิโอล่า จริงๆก็ใช้ได้หมดนั่นแหละ

หลักๆจะเป็นทที่บริหารที่จะช่วย ผ่อนคลายหัวไหล่ ที่เป็นต้นทางของแขนทั้งหมด

เชิญดูวิดิโอและปฎิบัติตาม เพื่อประโยชน์และความสุขจากการเล่นดนตรีของท่านครับ



วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประวัติดนตรีตะวันตก 7 นาที

ภาพวาดประวัติดนตรีตะวันตกตั้งแต่ยุคเริ่ม­ต้นจนถึงปัจจุบันภายใน 7 นาทีมันเยี่ยมจริงๆ ใช้ประกอบการสอนดนตรีได้สบายเลย

วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

9 ปัญหาที่มักจะพบในการบรรเลงรวมของวงสมัครเล่นในมุมของนักดนตรี

วิธีจัดการกับ 9 ปัญหาที่มักจะพบในการบรรเลงรวมของวงสมัครเล่นในมุมของนักดนตรี^^
โดย วชิรวิชญ์ ปัญญาลักษณ์[1]


ในวงดนตรีดนตรีที่มีนักดนตรีมากกว่า 20 คนขึ้นไปในการบรรเลงไม่ว่าจะเป็นวงร้องประสานเสียง หรือวงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงนั้น โดยทั่วไปนักดนตรีแต่ละคนทักษะไม่เท่ากันนะครับ ยิ่งถ้าในวงสมัครเล่นด้วยหละก็หมายถึงความรับผิดชอบของแต่ละคนที่แตกต่างกันไปด้วย ประเด็นคือเราต้องเล่นเพลงเดียวกัน ให้ออกมาเหมือนกัน ดังนั้นจำนวนปัญหาที่จะเกิดน่าจะเท่ากับ จำนวนนักดนตรี คูณด้วยจำนวนพาร์ท คูณจำนวนเซ็กชั่น อะไรประมาณนี้ ดังนั้นถ้าวงดนตรีมันเกิดมีร้อยคนขึ้นมา ปัญหามันจะเป็นร้อยๆเรื่องเลยทีเดียวครับ เราลองมาดูปัญหาในวงสมัครเล่นแบบคร่าวๆกันดูนะครับว่ามีอะไรบ้าง และลองมาดูว่าในมุมที่เป็นนักดนตรี เราจะเตรียมรับมือกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร


1 อ่านส่วนโน้ตไม่ออก

อาการ-ทำท่าเหมือนเล่น แต่ไม่ได้เล่นเพราะเล่นไม่ได้ในจุดที่ไม่เข้าใจ
ภาษากายของนักดนตรี-หลบตา แฝงความรู้สึกผิด และกลัวถูกจับได้
ผลที่เกิดขึ้น-เงียบเฉพาะบุคคล
วิธีจัดการกับปัญหา- (1) ไปจัดการความเข้าใจส่วนโน้ตส่วนตัว (2) หาเพลงฟังแล้วจำส่วนโน้ต ณ จุดปัญหา (3) ปรึกษาหัวหน้าเซ็กชั่น หรือครูผู้สอน เป็นการส่วนตัว

สำหรับวงสมัครเล่นนะครับ เชื่อมั้ยครับว่า ปัญหานี้แทบจะเรียกได้ว่าปัญหาใหญ่ อันดับหนึ่งตลอดกาลเลย นักดนตรีสมัครเล่นส่วนใหญ่เจอปัญหานี้กลับเงียบนะครับ ไม่ยอมรับว่าตัวเองอ่านไม่ออก ไม่แก้ไขด้วย ผมแนะนำนะครับให้ไปจัดการอ่านส่วนของตัวเองมาก จะได้ไม่เงียบในจุดที่ท้าทายแบบนั้นครับ


2 เล่นส่วนโน้ตไม่ได้

อาการ-เล่นช้ากว่าที่ควรจะเป็น
ภาษากายของนักดนตรี-เครียด อาจมีการส่ายหัวหนึ่งที มีจิ๊จ๊ะบ้างเล็กน้อย
ผลที่เกิดขึ้น-ทำให้ภาพรวมของเพลงในจุดนั้นๆ ไม่สะอาด
วิธีจัดการกับปัญหา-ซ้อมทักษะมากขึ้น ปรึกษาหัวหน้าเซ็กชั่น หรือครูผู้สอน เป็นการส่วนตัว

อันนี้ต่างจากข้อแรกครับ ตรงที่ว่าข้อแรกอ่านไม่ออกเลย แต่ข้อนี้อ่านออก เข้าใจจังหวะแต่เล่นไม่ทัน อาจจะดัวยทักษะไม่ถึง หรืออะไรก็แล้วแต่ แนะนำว่าให้ไปปรึกษาหัวหน้าเซ็กชั่นหรือครูผู้สอนเลยครับ


3 เล่นระดับเสียงไม่ได้

อาการ-เล่นเพี้ยน หรือผิดเสียง
ภาษากายของนักดนตรี-รู้สึกผิด อายเล็กน้อย(เพราะผิดระดับเสียงทุกคนในวงจะได้ยินหมด)
ผลที่เกิดขึ้น- เล่นโน้ตผิด หรือเพี้ยน ไป ทำให้ภาพรวมของเพลง ณ จุดนั้นผิดไปจากที่ควรเป็น
วิธีจัดการกับปัญหา-ซ้อมทักษะมากขึ้น ปรึกษาหัวหน้าเซ็กชั่น หรือครูผู้สอน เป็นการส่วนตัว

อันนี้คล้ายข้อข้างบนนะครับ ชั่วโมงซ้อมส่วนตัวเท่านั้นที่จะบรรเทาอาการนี้ได้ ไม่แนะนำให้มาวัดดวงเอาในวงนะครับ เพราะ80% ของการวัดดวง มักจะแป็กครับ และก็โชคดีเหลือเกินที่ไอ้ครั้งที่แป็ก มักจะมีครั้งที่ออกคอนเสิร์ตรวมอยู่ในนั้นด้วย^^


4 เริ่มเล่นประโยคไม่พร้อมกัน

อาการ-เริ่มโน้ตแรกของประโยคนั้นๆไม่พร้อมกันในแต่ละเครื่อง
ภาษากายของนักดนตรี- ปรกติ เพราะนักดนตรีจำนวนนึงไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
ผลที่เกิดขึ้น- ขาดเอกภาพของดนตรีตรงจุดนั้นๆ
วิธีจัดการกับปัญหา-(1) ดูผู้อำนวยเพลง (2) ดูหัวหน้าเซ็กชั่น

ปัญหานี้พบบ่อยมากครับ เหมือนปัญหาเล็กแต่จริงๆแล้วใหญ่มากครับ เพราะเพลงประกอบด้วยประโยคเล็กๆหลายประโยค ถ้าวงมีปัญหานี้ จะทำให้เพลงไม่สะอาดทั้งเพลงเลยทีเดียว วิธีแก้ก็ดูผู้อำนวยเพลงครับ แต่สำหรับผู้อำนวยเพลงบางท่านในจุดนั้นๆ กำลังสื่อสารกับเซ็กชั่นอื่นๆอยู่ ก็ให้ดูหัวหน้าเอาครับ


5 ล้ำจังหวะ

อาการ-เล่นก่อนจังหวะที่โน้ตบันทึกไว้เล็กน้อย
ภาษากายของนักดนตรี- ปรกติ เพราะนักดนตรีส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
ผลที่เกิดขึ้น- ขาดเอกภาพของดนตรีตรงจุดนั้นๆ ทำให้เพลงมีแนวโน้มเร่งขึ้น
วิธีจัดการกับปัญหา-นับส่วนย่อยในใจก่อนถึงคิวเล่น

ปัญหานี้บางทีเกิดเมื่อหลังจากหยุดยาวๆครับ นักดนตรีบางคนพอถึงคิวเข้าก็อยากเล่น เล่นก่อนจังหวะที่ควรจะเป็นนิดนึง ทีนี้ถ้ามันหลายๆนิด มันก็คือมาก นอกจากเพลงจะฟังเละๆแล้ว ยังมีแนวโน้วที่จะเร่งขึ้นอีกด้วยครับ แก้โดยให้นับส่วนย่อยสักห้อง-สองห้อง ก่อนถึงคิวเข้านะครับ น่าจะช่วยได้เยอะอยู่


6 ไม่แน่ใจในคิวเข้า

อาการ- เล่นออกมาเสียงเบากว่าที่ควรจะเป็นแล้วค่อยดังขึ้นเมื่อแน่ใจ
ภาษากายของนักดนตรี- ทำหน้างงกับตัวเอง
ผลที่เกิดขึ้น- คิวเข้าจะเบากว่าปรกติ ฟังดูเหมือนล่มแต่ไม่ล่มเพราะจะดังขึ้นในสอง-สามห้องถัดมา
วิธีจัดการกับปัญหา- (1)ถ้าผู้อำนวยเพลงไม่ให้คิวนั้นๆก็นับเลยครับ ช่วยกันนับ (2)สังเกตุว่าคิวนั้นๆเข้าต่อจากเครื่องอะไร พาร์ทไหน

ปัญหานี้ผมก็เห็นบ่อยนะครับ ส่วนใหญ่เกิดกับเครื่องที่หยุดเยอะๆ ยิ่ง Percussion เหนี่ย เราจะฟังออกเลยว่า ตรงนี้เค้าไม่มั่นใจ เพราะเสียงมันเบากว่าที่ควรจะเป็นจริงๆครับ ตรงนี้ถ้าผู้อำนวยเพลงไม่ช่วย ต้องช่วยตัวเองหละครับ นับไป หนึ่งสองสามสี่ สองสองสามสี สามสองสามสี่........


7 ไม่แน่ใจว่าที่เข้าถูกหรือเปล่า

อาการ- เล่นออกมาเสียงเบากว่าที่ควรจะเป็น แล้วเงียบไป
ภาษากายของนักดนตรี- ทำหน้างงใส่ผู้อำนวยเพลงหนึ่งที ก่อนที่จะหันไปงงกันเองในเซ็กชั่นอีก และเริ่มปรึกษากันในขณะที่เพลงบรรเลงไป
ผลที่เกิดขึ้น- คิวเข้าจะเบากว่าปรกติ ฟังดูเหมือนล่มแล้วก็หายไป
วิธีจัดการกับปัญหา- (1)ถ้าผู้อำนวยเพลงไม่ให้คิวนั้นๆก็นับเลยครับ ช่วยกันนับ (2)สังเกตุว่าคิวนั้นๆเข้าต่อจากเครื่องอะไร พาร์ทไหน (3)ปรึกษาผู้อำนวยเพลงหลังการซ้อม (4) หาเพลงมาฟัง

ข้อนี้ต่างจากข้อบนตรงบริบทของเพลงครับ คือบางเพลงก็ซับซ้อน นักดนตรีเข้าถูกแล้วแต่เล่นไปสักพักก็รู้สึกว่ามันแปลกๆ ตรงนี้สิ่งที่ต้องการคือความมั่นใจจริงๆ บางทีผู้อำนวยเพลงให้คิวไปแล้ว เราเล่นถูกในบางเพลงก็ยังรู้สึกแปลกๆก็มีครับ ทางที่ดีหลังการซ้อมคุยกันดีกว่าครับ ฟังเพลงก็ช่วยได้นะครับ


8 เข้าผิดที่

อาการ- เล่นออกมาเสียงดังในจุดที่ผิดแล้วเงียบไป
ภาษากายของนักดนตรี- ทำหน้างงใส่ผู้อำนวยเพลงหนึ่งที ก่อนที่จะหันไปงงกับโน้ต
ผลที่เกิดขึ้น- เข้าผิดที่อะครับ ผลที่เกิดขึ้นก็แบบนั้นแหละ^^
วิธีจัดการกับปัญหา- (1)ถ้าผู้อำนวยเพลงไม่ให้คิวนั้นๆก็นับเลยครับ ช่วยกันนับ (2)สังเกตุว่าคิวนั้นๆเข้าต่อจากเครื่องอะไร พาร์ทไหน (3)ปรึกษาผู้อำนวยเพลงหลังการซ้อม (4) หาเพลงมาฟัง

บางบทเพลงมันมีจุดหลอกจริงๆครับ ข้อนี้ต่างจากข้อบนตรงความชัวร์ของนักดนตรี แต่มันผิดที่น่านแหละครับวิธีแก้เหมือนข้อบนเลยครับ ไปทำความเข้ากันกันซะ จะได้ไม่ผิด^^


9 ย้อนผิด

อาการ- บางส่วนของวงย้อน บางส่วนของวงไม่ย้อน
ภาษากายของนักดนตรี- หยุดแล้วทำหน้างง แล้วทำหน้านึกขึ้นได้
ผลที่เกิดขึ้น- เละครับ อาจถึงล่มจนเงียบได้เลย
วิธีจัดการกับปัญหา- เขียนไว้ในโน้ตครับว่าเอางัยแน่ แล้วช่วยกันเตือนตอนเล่นอีกรอบนึง

ปัญหานี้อันตรายที่สุดครับ แม้แต่ผู้อำนวยเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ถ้าเจอปัญหาวงย้อนผิดในขณะเล่นคอนเสิร์ตนะครับ รับรองหมอบทุกคนครับ เพลงประเภทมีหลายย้อน แล้วย้อนนั้น ไม่ย้อนนี้ พอย้อนนี้เล่นสองรอบแล้วออกไปนั่น จากนั้นตัดตรงนี้ ข้ามไปเล่นตรงนั้น อันนี้ต้องระวังให้ดีเลยครับ ถ้าเกิดขึ้นตอนซ้อมก็คือเสียเวลา ถ้าเกิดตอนคอนเสิร์ตหละก็ ตัวใครตัวมันหละครับ วิธีจัดการก็ไปจัดการที่โน้ตครับ เขียนให้ชัดๆ ว่าจะเอายังงัยอะไรแน่ ก่อนเล่นก็ภาวนาซักรอบนึงครับ เพราะในวงสมัครเล่นอะไรก็เกิดขึ้นได้ จริงมั้ยครับ^^


ปัญหาที่เจอกันบ่อยๆก็น่าจะประมาณนี้หละมั้งครับ อันนี้ผมพูดถึงในมุมนักดนตรีนะครับ ในมุมผู้อำนวยเพลงก็เป็นอีกแบบนึง มีวีธีการจัดการในแบบที่ต่างออกไป ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ


วงสมัครเล่นหนะต่างจากวงอาชีพนะครับ วงอาชีพที่ทุกคนเป็นนักดนตรีมากทักษะ วางโน้ตทีเดียวเล่นได้เกือบสมบูรณ์ ก็จะมีปัญหาที่ต่างออกไปจากนี้อีกแบบนะครับ แต่ผมว่าปัญหาเหล่านี้ก็เป็นปัญหาบทแรกๆที่เราจะต้องเจอนะครับ ถ้าเราเริ่มจัดการปัญหาที่ว่ามาเกือบสิบข้อนี้ได้ ผมเชื่อว่าเราน่าจะพัฒนาด้านการเล่นเป็นวงขึ้นมาอีกระดับนึงเลยทีเดียวหละครับ ไม่เชื่อลองเอาไปทำดูนะครับ


ขอให้มีความสุขกับการเล่นดนตรีทุกวันนะครับ^^

[1]https://www.facebook.com/vajirawitch.punyalak.1/posts/10151982709981020?stream_ref=10

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

First Aid Chord Kit - Lesson 1

สนุกกับคอร์ท

 

วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

Still (주 품에) - Jennifer Jeon

ไพเราะจริง ๆ ชอบเสียง vibrato ของน้องคนนี้จริง ๆ ประโยคเพลง อารมณ์เพลงลงตัวหมด
แถมดนตรีก็แต่งได้เพราะ

 

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

เทคนิค Pentatonic Aiming

ใครมองหาวิธีเล่น pentatonic ลองดูทริคนี้ครับ เอมมิ่ง aiming ได้ลูกโซโล่ blues jazz น่าศึกษามาก

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

วิเคราะห์เสียงประสานเพลง Autumn Leaves

วิเคราะห์เสียงประสานเพลง Autumn Leaves มันเยี่ยมจริงๆ

 

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้ Pentatonics กับคอร์ด 7sus4

การใช้ Pentatonics กับคอร์ด 7sus4 บทความจาก KhonKaenJazzSociety ครับ มันยอดมาก

มีเพื่อนสมาชิกเพจถามเรื่องการใช้ Pentatonic กับคอร์ด sus4 จริงๆ คุณน่าจะบอกเพลงที่ใช้ด้วยนะ หรือบอก Chord Progression มาด้วยก็ดี แต่ไม่เป็นไร สำหรับคอร์ด C7sus4 จริงๆเรามองเป็น Gm7/C ก็ได้

ผมขอเสนอ Pentatonic Scales ที่น่าใช้ในคอร์ด C7sus4 สัก 2 สเกลดังนี้:

1. C D F G Bb (C)

สเกลนี้จริงๆมาจาก C Dominant Pentatonic: C D E G Bb (C) โดยโน้ต M3 ถูกยกขึ้นเป็น P4 เท่านี้เราก็มี Pentatonic Scale ที่เหมาะกับคอร์ด 7sus4 แล้ว

อธิบายแบบนี้บางคนงงอ่ะดิ จริงๆแล้วมันก็คือ Bb Major Pentatonic หรือ G Minor Pentatonic:

Bb C D F G (Bb) หรือ G Bb C D F (G) เพียงแต่ว่ามันเริ่มที่ C Root เท่านั้นเอง

2. C D F G A (C)

สเกลนี้จริงๆมาจาก C Major Pentatonic: C D E G A (C) และโน้ต M3 ถูกยกเป็น P4 ดูดีๆสเกลนี้จริงๆก็คือ F Major Pentatonic หรือ D Minor Pentatonic:

F G A C D (F) หรือ D F G A C (D) เพียงแต่ว่ามันเริ่มที่ C Root เท่านั้นเอง

อ่า...จะรับ Pentatonic Subs. เพิ่มไหมครับ

ที่มา https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/546036985461943

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Gypsy Jazz School Preview of Lesson 20 - Lulu Swing - Part 2

Lulu Swing Part II บรรยายสรุปเนื้อหาโดย KhonKaenJazzSociety[1]



คลิปนี้ เขาสอนเรื่องคอร์ด 7#11 (7b5) และ Whole Tone Scale ยิ่งไปกว่านั้น มันก็เป็นตัวอย่างการเรียนรู้ Etude ในการใช้คอร์ด 7#11 อีกด้วย นอกจาก Whole Tone Scale แล้ว ยังมีเทคนิค Chromatic Scale, One Note Per String Sweeping Lick, Enclosure, Double Enclosure, m7b5 as 7add9, dim7 as 7b9 และอื่นๆ



สำหรับส่วนตัวผมใช้วิธีแปลงไฟล์หรือโหลดลงเป็น Mp3 แล้วใช้โปรแกรม Transcribe แกะโดยการ Slow Down ลงเหลือสัก 75 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจึงกลับมาดูทางนิ้วที่ใช้ในคลิปอีกครั้งหนึ่งว่ามีจุดบกพร่องตรงไหนที่ควรแก้ไข จากนั้นก็ให้ซ้อมเล่นไปกับคลิปใน Tempo เดียวกัน (ผมไม่ได้เขียนโน้ตไว้ ด้วยขี้เกียจ ควรหัดจำจะดีกว่า)



ทีนี้ เรามาดูว่า วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ (ที่ควรได้รับ) จากการดูคลิปนี้



- รู้การเล่นคอร์ด 7b5 ทั่วทั้ง Fingerboard

- รู้การเล่น Whole Tone Scale ทั่วทั้ง Fingerboard

- รู้วิธีการใช้ Whole Tone Chords ในการ Improvisation.

- รู้การแต่ง Licks ด้วย Whole- Tone Scale

- รู้วิธีการ Improvise ในเพลง Lulu Swing ด้วยการใช้ Whole- Tone Scale

- รู้การใช้ Chromatic Scale และอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น

ที่มา [1]https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/10201227126144489?stream_ref=10

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การซ้อมดนตรีอย่างถูกต้อง

ดนตรีเป็นเรื่องของทักษะครับ ถ้าเราซ้อมไม่ถูกต้องพัฒนาการจะไปได้ช้ามาก บทความจาก Khon Kaen Jazz Society [1]ครับ สรุปว่าซ้อมช้าจะเป็นเร็ว สมองแป็บเดียวก็จะแล้ว แต่กล้ามเนื้อกว่าจะจำก็ต้องใช้งานบ่อยๆ ถ้าเราซ้อมสิ่งที่ผิดบ่อยๆ กล้ามเนื้อมันก็จะจำ(Muscle Memory)สิ่งที่ผิดจนชำนาญแล้วจะแก้ไขยากมากกกก



“Practice does not make perfect. Only perfect practice makes perfect.” – Vince Lombardi

นักกีตาร์ส่วนใหญ่ชอบที่จะเล่นเร็ว ราวกับว่ากีตาร์นี้มันถูกสร้างมาเพื่อให้เราได้โบยบินไปทั่ว Fingerboard และเล่นใน Tempos ที่เร็วยิ่งกว่าพวกเครื่อง Woodwind และ Brass เสียอีก

แต่ว่า ปัญหาท่ามกลางของนักเรียนกีตาร์แจ๊สส่วนใหญ่จะคิดว่า การที่เราอยากจะเล่นเร็วๆ นั้น จำเป็นต้องฝึกเล่นเร็ว

แต่ไม่ใช่จะเป็นแบบนี้เสมอไป ความจริงแล้ว คุณจำเป็นต้องฝึกเล่นให้ช้าและได้ยินในโน้ตที่คุณเล่นอย่างชัดเจนต่างหาก ที่มันสำคัญกว่าที่คุณจะฝึกเล่นเร็ว

คุณอาจเถียงว่า เฮ้ย! มันเป็นไปได้อย่างไร?

คืออย่างนี้ครับ เมื่อคุณฝึกเล่นโดยช้าๆนี้ มันจะช่วยให้คุณได้รับ Muscles Time หรือที่ผมเรียกว่า "รอบ" ที่จะไปพัฒนาเทคนิคที่เหมาะสม ที่จะให้คุณได้ใช้ในการเล่นเร็วในเวลาต่อมา

และถ้าคุณฝึกเล่นเร็วอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าวิธีการในการฝึกซ้อมของคุณไม่ถูกต้อง หรือมีการใช้ Fingerings ที่ไม่เหมาะสม หรืออื่นๆ นั่นก็คือ คุณได้ Training กล้ามเนื้อของคุณในทางที่ผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณได้เล่นใน Idea นั้นๆที่คุณฝึกซ้อม เชื่อได้เลยว่าส่วนใหญ่มือของคุณจะ Translating ไปยังการเล่นที่บกพร่อง หรือมีข้อผิดพลาดอันไม่เหมาะสมที่ Slower Tempos นั้นด้วย

แต่ว่า ถ้าคุณ Practice Perfectly ใน Slow Tempos มากๆแล้ว กล้ามเนื้อของคุณ (Muscles) จะรู้ว่าทำอย่างไรจะ Move และ React เมื่อคุณได้เริ่มเล่นใน Faster Tempos

ผมขอยกตัวอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกชื่นชอบและก็เพิ่งที่จะได้เรียนรู้มาสดๆ

ในวันนั้นคุณครู ได้พูดเกี่ยวกับ Idea นี้ในบทเรียนหนึ่งที่ผมมักจะเล่นแบบแถไหลไปตามความคล่องของมือที่เกิน Limit ด้วยยังมีวิญญาณแห่ง Shredder อยู่ในตัวเต็มพิกัด แต่วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่คุณครูเขาต้องการ และเขาได้ให้คำอธิบายว่า:

“Have you ever watched a baby learn to walk? They first learn to crawl, very slowly. Then they learn to walk very slowly, allowing their muscles to develop proper coordination and mechanics.

Then, one day, once they’ve learned to walk, they just run. They don’t practice running, they just do it.

They’ve developed all the proper movements very slowly, so it’s just a matter of walking fast. They are one in the same as far as the technique is concerned, one is just done more quickly than the other.”

ผมถอดความเป็นภาษาสเปนสักนิดหน่อยก็แล้วกัน ด้วยนักเรียนของผมส่วนใหญ่ตกภาษาอังกฤษ

“ อั่น...บักหำ เจ้าเคยเห็นบักหำน่อยมันหัดแลนเลยบ่อ หือ ประสบการณ์แรกของบักหำน่อยทารกนี่คือ หัดคลานอย่างช้าๆ แม่นบ่อล่ะ บัดเทือเนี้ย มันก็สิค่อยๆ หัดหย่างช้าๆแม่นบ่อ นั่นก็คือว่ามันเฮ็ดให่กล้ามเนื้อของเจ้ามันค่อยๆพัฒนาสอดคล้องเป็นกลไกที่เหมาะสม ซั่นตั้วหล่า...

ขั่นว่าต่อมา บักหำน่อย มันเริ่มใหญ่เป็นบักหำเป้ด (โ...ยเสียก!)จักหน่อยหนา บักหำเป้ดก็จะเริ่มเฮียนฮู้การหย่าง (Walking) บ่อแมนการแลนเด๋ (Running) บัดเทือเนี้ย เจ้าก็สิเห็นได้ว่า เด็กน่อยบ่อได้หัดแลนเลยเด๋ มันแค่แลนหันโลดซั่นแหล่ว ไล่จับนำกาบ่อทัน ฮ่วย!

นั่นก็หมายความว่า ซุมเด็กน่อยนั่นได้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมทุกอย่างแบบช้าๆเด๋นั่นนะ...พู่นแหล่ว”

ในเรื่องเดียวกันนี้ เราก็นำมาใช้ Applied ในการเรียนรู้ดนตรีของเราว่า ต่อไปลองให้คุณเรียนรู้ที่จะฝึกซ้อม New Licks หรือ Scale ในชีวิตประจำวันโดยพยายาม Try working it as slow as possible. หรือช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ตัวอย่างง่ายๆ ให้คุณลองฝึกซ้อมสเกลหรือ Lick ที่มันเร็วโครตใน Quarter Notes ที่ 10 bpms จากนั้นหลังจากที่คุณซ้อมไปเรื่อยๆ โดยจดจ่อใส่ใจในคุณภาพเสียง ฯลฯ ในระยะเวลาหนึ่ง(นานพอสมควร) แล้วออกไปเดินเล่นสัก 5-10 นาที จากนั้นก็ลองเล่น Idea เดิมนั้น ใน Tempo ที่เร็วขึ้น แล้วคุณจะ Surprised ว่า “หา...กูสามารถทำได้นี่หว่า”

นั่นก็คือ กล้ามเนื้อหรือมือของคุณ (Muscles) ได้ถูก Trained เพื่อที่จะเล่นใน Idea นั้นๆอย่างเหมาะสม ถูกต้องด้วยพัฒนาการ ด้วยการ Translate ไปยัง Tempo ที่เร็วขึ้นได้

อ้าว! เที่ยงพอดี ไปกินข้าวก่อนนะครับ

[1]https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/570078996391075

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

Harmonic Major Scale และการใช้งาน

Harmonic Major Scale บทความจาก บทความจาก Khon Kaen Jazz Society [1]ครับ

Harmonic Major Scale ก็คือ Major b6 นั่นเอง ดังนั้นถ้าเขียนเป็น Numerical Form (Relative to the Major Scale) ก็จะประมาณนี้

1 2 3 4 5 b6 7

Modes of Harmonic Major ถ้าว่ากัน “ตามสูตร” ก็จะประมาณนี้

1. Ionian b6
2. Dorian b5
3. Phrygian b4
4. Lydian b3
5. Mixolydian b2
6. Aeolian b1
7. Locrian b6 หรือ bb7.

Mick Goodrick เคยพูดใน Column ของเขาในหนังสือ Guitar Player ว่าเขาชอบที่จะใช้สเกลนี้อยู่ 1 หรือ 2 Modes และที่เขาชอบใช้เช่น

ใน Phrygian Version ซึ่งหมายถึง Phrygian b4 นั้น Mick Goodrick บอกว่ามัน “เจ๋ง” และ” “เข้าท่า” มาก เมื่อเล่น Against บนคอร์ด 7#9 b13 หรือ 7 b9 b13 (แล้วอะไรต่อ? จำไม่ได้อ่ะ)

และสำหรับ Lydian b 3 ล่ะ? คือ ถ้าคุณ Flat 3rd คุณก็จะได้ Minor ไม่ใช่เหรอ? สำหรับ Mick Goodrick เขาบอกว่า ถ้าขืนยังเรียก Lydian อยู่นี้สับสนตายห่าเลย จริงๆมันควรจะเรียกว่า Jazz Melodic Minor Scale with a Raised 4th มากกว่า (*** สำหรับตัวอย่างการใช้ของเขาผมคงต้องไปค้นหาดูก่อน กลัวเขียนผิด***)

ดังนั้น C Harmonic Major ซึ่งก็คือ C D E F G Ab B มันก็น่าจะถูกใช้ใน Progressions ประมาณว่า Fm – Cmaj7 (IVm – Imaj7), Abmaj7 – Cmaj7 (bVImaj7 – Cmaj7) หรือ G7(b9) – C maj7 (V7(b9) – I maj7) ซึ่งจริงๆแล้วเราก็พบออกจะบ่อย นั่นก็คือสำหรับผมมองมันเป็นแค่ Options บางอย่างแค่นั้นเอง (คล้ายๆกับ Subdominant Minor)

แต่ ถ้าคุณพิจารณา Mode of Harmonic Major ที่ผมเขียนแบบตามสูตรเป๊ะๆ ข้างต้นแล้ว ผมว่าหลายคนคงจะตะหงิดๆ กับเจ้าโหมด Lydian b3 หรือ Aeolian b1 แน่ๆ มันขัดความรู้สึกยังไงก็ไม่รู้ ดังนั้นผมจึงนำมาจัดเรียงแล้ว ตั้งชื่อให้มันเหมาะสมกับ Characteristic ของมัน ซึ่งน่าจะเข้าท่าเข้าทางกว่า ที่จะ “เถรตรง” เรียกชื่อตามสูตรแบบทื่อๆ

ดังนั้นสำหรับ Mode of Harmonic Major ที่เขียนใหม่จึงน่าจะเป็นดังนี้

Ionian b6 หรือ Maj7(9 11 b13)
Dorian b5 หรือ m7(b5) (9 11 13)
Phrygian b4 หรือ 7(b9 #9 b13)
Lydian-Minor หรือ mMaj7(9 #11 13)
Mixolydian b2 หรือ 7(b9 11 13)
Lydian-Augmented #2 หรือ +Maj7(#9 #11 13)
Locrian-Diminished หรือ dim7(b9 11 b13)

เห็นไหมครับ เข้าใจง่ายและสะดวกกว่ากันเยอะเรยย

คราวนี้ลองมาพิจารณาถึงการนำไปใช้กันบ้างกรณีเราอยากได้ Harmonic Major Sound สำหรับ IIm7 – V7 – Imaj7

*** คอร์ด Dm7:

- อันนี้ใช้ D Dorian หรือ Dm7(9 11 13) ปรกติจะดีกว่า ***

*** คอร์ด G7:

- ใช้ G Mixolydian b2 (5th Mode จาก C Harmonic Major) หรือ G7(b9 11 13)

- หรือใช้ G Phrygian b4 (3rd Mode จาก Eb Harmonic Major) หรือ G7(b9 #9 b13)

*** คอร์ด Cmaj7:

- ใช้ Ionian b6 หรือ C Harmonic Major หรือ Cmaj7(9 11 b13)

- หรือใช้ C Lydian-Augmented #2 หรือ C+Maj7(#9 #11 13)

*** สำหรับคอร์ดอื่นๆ:

คอร์ด Minor/Major7:

- ใช้ Lydian Minor หรือ mMaj7(9 #11 13) Sound ตาม Root

คอร์ด Half-Diminished:

- ใช้ Dorian b5 หรือ m7(b5)(9 11 13) Sound ตาม Root

คิดต่อไม่ออก งั้นก็แค่นี้ก่อนนะครับ

[1]https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/573200239412284

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

คอร์ด Minor 7(b5) หรือ Half-Diminished

คอร์ด Minor 7(b5) หรือ Half-Diminished บทความจาก KhonKaenJazzSociety[1]

คำเตือน: บทความนี้เป็นเพียงการลำดับความคิดของผู้เขียน ถูกเขียนขึ้นด้วยการ “นั่งเทียน” นึกเอาเอง ไม่มีหนังสืออ้างอิงแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงเชิงวิชาการได้เด็ดขาด

ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่า ทั้งสองชื่อไม่ว่าจะเป็น m7 (b5) หรือ Half-Diminished นั้นก็คือมัน Refer ถึงคอร์ดเดียวกัน

การสร้างคอร์ดนี้ จาก C Root จะได้: C Eb Gb Bb ตามลำดับ หรือวิเคราะห์ได้ว่า Root, m3, dim 5, และ m7 สำหรับการเขียนเราจะพบในรูปแบบ Cm7(b5) หรือ CØ

ผมขอเสนอ 3 วิธีในการสังเกตคอร์ดนี้ (อาจมีข้อขัดแย้งเล็กน้อย)

1) เราสามารถมองมันเป็นคอร์ด Minor 7th ที่คู่ 5th ของมันถูกลดลง 1/2 Step นี่คือทำไมคนถึงเรียกว่าคอร์ด m7(b5)

2) ทั้ง 4 Notes ของคอร์ด Half-Diminished ยังถูก Inverted เป็นคอร์ด Minor 6 (Third Inversion) ตัวอย่าง

Cm7(b5) = Ebm6 ที่คู่ 6th เป็น Bass (บางทีเขียน Ebm6/C หรือ Ebm/C) ซึ่งหมายถึงในคีย์ Db นั้นคอร์ด Cm7(b5) เป็นทั้ง VII และ/หรือ เป็น Inversion ของ II แต่เป็น II of VI

Dizzy Gillespie (อันนี้ผมอ่านใน Autobiography ของเขา) ได้พูดถึงการค้นพบของเขาในคอร์ด m6 ด้วยคู่ 6th ใน Bass และพูดถึงว่ามันได้ส่งถึง Huge Impact กับดนตรีของเขา (อันนี้เดี๋ยวว่ากันวันหลัง)

3) สุดท้าย ในมุมมองอื่นๆ คือว่า เราสามารถมองเป็นคอร์ด Diminished ที่คู่ 7th ถูกเพิ่มยกขึ้น 1/2 Step นั้นคือทำไมบางคนถึงเรียกคอร์ด Half-Diminished อย่างไรก็ตามให้จำไว้ว่าคู่ 7th ของคอร์ด Diminished จริงๆมันเป็น M6th

ถ้าว่าคอร์ดถูกสร้างบน Diminished Triad (C Eb Gb) มันก็ดูเหมือนจะ Make Sense ที่เราจะคิดว่ามันสังกัดอยู่กับ Diminished Family

*** สิ่งที่น่าสับสนสำหรับเด็กๆคือ นักทฤษฎีมักจะคิดหรือสอนอะไรที่ดู Very Opinionated ในบางครั้งและดูเหมือนจะชอบคิดให้มีคำจำกัดความแค่คำจำกัดความเดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง แต่ก็ช่างเถอะคิดยังไงมันก็เรื่องของเขา สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจ ด้วยการพูดคุยกับนักดนตรีด้วยกันแล้วยอมรับในข้อเท็จจริงที่มัน Refer ถึงคอร์ดนั้นๆก็จบ

Functional Harmony:

ตอนนี้ เรามาพิจารณาว่าเราจะหาคอร์ด m7(b5) หรือ Half-Diminished ได้ที่ไหน?

เมื่อดูถึงที่มาของ Diatonic Seventh Chords จาก 4 Parent Scales (หรือเรียกอีกอย่างว่า Source Scales) เราจะพบคอร์ดนี้ในฐานะ

- คอร์ด VII ใน Major หรือคอร์ด II ใน Relative Minor ของมันเอง(Natural Minor Scale)
- คอร์ด II ใน Harmonic Minor
- คอร์ด II ใน Harmonic Major
- คอร์ด VI และ VII ใน Melodic Minor

ถ้าเราดูที่ Turnaround ง่ายๆใน Minor Key โดยทั่วไปเราสามารถหาได้ที่:

Im6 - VIm7(b5) - IIm7(b5) - V7

ในคีย์ Cm สำหรับ Progression นี้จะเป็น:

Cm6 - Am7(b5) - Dm7(b5) - G7

เรามาลองหาตัวอย่างอื่นๆมาดูกันต่อ:

ในเพลง "Autumn Leaves" (ในที่นี้เอาคีย์ Gm ก็แล้วกันเพราะคีย์ Em มันเฝือแล้ว) คอร์ด Am7(b5) ในห้องที่ 5 นั้นเป็นทั้ง VII ใน Bb และ II ใน Gm (Relative Minor) คอร์ดลักษณะเช่นนี้เรารู้จักกันว่าเป็น "Pivot Chord" ด้วยเพราะว่ามัน Serves a Function ในคีย์ที่มันมาและ Function ในคีย์ที่มันเข้าไป "Pivot Chord" มักจะสร้าง Abrupt Modulation เล็กน้อย

ในเพลง "All The Things You Are" (คีย์ Ab) คอร์ด F#m7(b5) ในห้องที่ 21 ก็เป็น “Pivot Chord" ด้วย คือมันเป็น VII ใน G (คีย์ที่มันมา) และเป็น II ใน E (คีย์ที่มันเข้าไป) บางคนอาจถามว่าทำไม II ของ Major Key อย่างเช่น E สามารถเป็นคอร์ด Half-Diminished ในเมื่อควรเป็นคอร์ด m7? อันนี้คือเราเรียกว่า "Borrowed" Chord คือเราสามารถเห็นมันมาจากทั้ง Parallel Key ของ Em หรือจาก E Harmonic Major ใน Diatonic System หรือเหตุผลหลักคือคอร์ด F#m7(b5) เป็น Modulation ที่ Smooth กว่าจาก G ไป E

การใช้คอร์ดนี้ในฐานะเป็น Substitution:

Substitution แบบง่ายคือ เปลี่ยน m7 ของ ii-V7 เป็นคอร์ด Half-Diminished ด้วยโน้ต Flatted 5th ได้ให้ Tension ที่แตกต่างเป็นการเฉพาะที่ไม่มีการ Altered จริงๆใน Chord Quality

ถ้าหรือเมื่อ Melody สามารถยอมให้มันทำได้หรือรองรับได้ คอร์ด bIIm7(b5) ก็สามารถ Substituted for คอร์ด IMaj7 ได้ ดูตัวอย่างในเพลง "Meditation" โดย Antonio Carlos Jobim (คีย์ C) คอร์ด F#m7(b5) สามารถถูกใช้แทนที่จะเป็น FMaj7 ใน 2 ห้องแรกของท่อน Bridge ผมคิด(เดา) ว่าคอร์ด F#m7(b5) และ FMaj7 คงมี Common Note น้อยกว่า 3 Notes กระมัง หือ!

การใช้คอร์ดนี้ในฐานะเป็น Upper-Structure:

Upper-Structure คือคอร์ดหรือ Arpeggio หนึ่งที่ถูกเล่นบนอีกคอร์ดหนึ่ง (และไม่จำเป็นที่จะแทนที่ Original Chord) หรือใช้ Upper-Structure เพื่อเล่นในฐานะคอร์ดเมื่อเล่น Comping หรือใช้เป็น Arpeggiated Single-Note Line เมื่อ Improvising

จำได้ไหมที่ผมว่า คอร์ด Half-Diminished นั้นก็คือ Inversion ของคอร์ด m6 ดังนั้นเมื่อเราเล่นคอร์ด I ใน Minor Key (Tonic Minor) เราก็สามารถเล่นคอร์ด Half-Diminished จาก 6th ของคอร์ดนั้นได้ด้วย

ตัวอย่าง: สำหรับคอร์ด Dm6 เราเล่น Bm7(b5)

การใช้คอร์ด Half-Diminished ที่น่าสนใจในฐานะ Upper-Structure มักจากการเล่นบนคอร์ด Dominant:

ตัวอย่างเช่น:

สำหรับคอร์ด C7(9) เราเล่นคอร์ด Em7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ 3rd ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C+7(b9) เราเล่นคอร์ด Bbm7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ 7th ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C7(#9 #11) เราเล่นคอร์ด Cm7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จาก Root ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C7(#9 13) เราเล่นคอร์ด Am7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ 13th ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C7(#11 13) เราเล่นคอร์ด F#m7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ #11th ของคอร์ด Dominant)

สำหรับคอร์ด C7(b9 #9 #11 13) เราเล่นคอร์ด D#m7(b5) (Half-Diminished Upper-Structure จากคู่ #9th ของคอร์ด Dominant)

Substitution for The Half-Diminished Chord:

ในบริบทของ IIm7(b5)-V7 นี้มี Diatonic Substitutions ธรรมดา แต่ว่าน่าสนใจสำหรับคอร์ด II ดังตัวอย่างต่อไปนี้:

ในต้นเพลง "Night & Day" แทนที่เราจะเล่น Dm7 (b5) - G7 นั้น เราสามารถเล่น AbMaj7 - G7 แทนได้ ซึ่ง สูตรสำหรับ Substitution นี้คือ เล่น Maj7 จากคู่ b5 ของคอร์ด IIm7(b5)

ในต้นเพลง "I Love You" แทนที่เราจะเล่น Gm7(b5) - C7 นั้น เราสามารถเล่น Bbm7(9) - C7 แทนได้ ซึ่งสูตรสำหรับ Substitution นี้คือ เล่นคอร์ด m7 จากคู่ m3 ของคอร์ด IIm7(b5)

ทั้ง 2 ตัวอย่างข้างต้นนับเป็นการ Substitution ที่สวยงาม ก็ด้วยเพราะคอร์ด V7 นั้นถูก Approached ทั้งโดย1/2 Step (Down) และโดย Whole-Step (Up) และดูที่ Root Movements จะเป็นการ Break ความเป็น Monotony ของเบสที่มักเคลื่อนที่เป็น Perfect Fourths

แค่นี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ คิดต่อไม่ออก ระวังธาตุไฟเข้าแทรกนะ

https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/545608125504829

วิธีใช้คอร์ทจบเพลงแบบ Turn-Arounds (Cadences)

Turn-Arounds (Cadences) บทความจาก Khon Kaen Jazz Society [1]ครับ

วันนี้เขียนเรื่อง Basic ง่ายๆ ชิลด์ๆ ดีกว่าเนอะ จริงๆความรู้ขั้น Basic นี้สำคัญเป็นที่สุดเลยนะ อีกอย่างดูเหมือนในเพจเราจะมีเด็กๆ ที่เพิ่งหัดใหม่เป็นคนส่วนใหญ่ จากที่ดูคำถามใน Inbox นะ

Turn-Around คืออะไร?

Turn-Around ก็คือ Cadence หรือ Chord Progression เล็กๆสั้นๆ ที่เรามักพบในท้าย Section ของเพลง หรือที่ท้ายของแต่ละห้อง 8, 16 หรือ 32 Bars ใน AABA Form หรือ ในในตอนท้ายของแต่ละ 12 Bars ใน Blues

Turn-Around มักจะบ่งบอกว่าเป็นส่วนท้ายของ Section และหน้าที่ของมันคือการกลับไปที่ Tonic Key เพื่อไปเริ่ม Section ต่อไป นั่นคือเหตุผลที่เราเรียกว่า Turn-Around ครับ เจ้า Turn-Around ยังสามารถถูกใช้ในฐานะของ Static Vamp หรือ "A Chord Progression that Goes Nowhere" เพื่อใช้ในการฝึกซ้อมโซโลด้วย ดูตัวอย่าง

Turn-Around: Cmaj7 - A7 - Dm7 - G7

ตัวอย่างข้างต้นคือ I-VI-II-V Progression เราอาจใช้ Variation หรือแทนที่ I ด้วย III ได้ ก็จะกลายเป็น III-VI-II-V Progression แต่ดูไปมันก็ง่ายเกินไปเนอะ ยังกะหมูในอวย เราก็มีวิธีที่จะ Jazz Up ในวิธีการอันหลากหลาย เช่นพวกโน้ตใน Higher Degrees ก็สามารถนำมาเพิ่มในคอร์ดหรือการใช้ Chord Substitutions ก็ใช้ได้เช่นกัน (หวังว่าคงจะรู้เรื่องทำนองนี้มาแล้วนะ)

แบบที่ 1 – ฟังดู Jazzier ขึ้นโดยใช้ Tensions, Alterations

• Cmaj7- A7b9 - Dm7 - G7b9
• C6/9 - A7 - Dm11 - G13
• C6 - A7b9 - Dm7 -G7#5#9

แบบที่ 2 – ฟังดู Jazzier ขึ้นโดยใช้ Chord Substitutions

• C6/E - Ebdim- Dm7 - G9
• Em7 - A9 - Dm7 - G9
• Em11 - A11 - Dm11 - G11
• Em7 - A7b9 - Dm7 - G7b9
• Em7 - A13 - Dm7 - G13
• Em7b5- A7alt- Dm7 - G7
• E7#9 - A13 - D7#9 - G13
• C6 - A7#9 - D13 - G7#9
• C6 - Am7 - Ab7 - F/G
• Cmaj9- A13 - Ab7b5- G13
• C6 - Eb13 - D13 - Db13
• C/E - Eb13 - D7 -Dbmaj7
• Em7 - Eb7 - Dm11 - Db7b5
• Em9 - Eb9 - Dm9 - Db9
• Cmaj7-Ebmaj7-Abmaj7-Dbmaj7#11

แบบที่ 3 – อันนี้คือการที่เราทำ Reharmonization แบบค่อนข้างจะหลุดกรอกนิดนึง หุหุ

• C6 - F#/E - Dm7 - E/D
• C6/9 - Bbdim- Adim - Abdim
• Cmaj7- F#/A - F/D - E/G
• C7#9 - A13/C- B/C - Ab/Bb
• C13 -Ebmaj7- F7 - Db13
• Am7 - Cm/C#- B/C - F4/B
• Am7 - Ab7 -G7sus4- Ab7
• Am7 - Bbm7 - Am7 - Abm6
• Am7 -Abmaj7-G7sus4- Ab/Bb

(ผมยังค่อนข้างเป็นห่วงเด็กๆว่า คุณจะยังเห็น Relationship ระหว่าง Turn-Arounds เหล่านี้กับ Original หรือเปล่า ก็ด้วยในแบบที่ 3 มันอาจไม่ได้วิเคราะห์ Chord Substitution แบบตรงๆ สำหรับมือใหม่อาจจะงงๆ ถ้างง ก็ปล่อยให้ผ่านไปก่อนเน้อ)

การใช้ Minor Pentatonic Scales ในการเล่นบน Turn-Arounds

หันกลับมาที่ Turn-Around: Cmaj7 - A7 - Dm7 - G7 วิธีที่ง่ายที่สุดคือใช้ Minor Pentatonic Scale หรือคิดไม่ออกก็อาจใช้ E Minor Pentatonic Scale บนทั้ง Progression โลด แต่แหม ...ง่ายไปหรือเปล่า

จัดให้ก็แล้วกัน จริงๆเคยเขียนหลายร้อยรอบแล้ว คือใช้ Minor Pentatonic Scales ประมาณนี้ก็ได้:

- Cmaj7 - E Minor Pentatonic, A7 - E Minor Pentatonic, Dm7 - A Minor Pentatonic, G7 - D Minor Pentatonic

- Cmaj7 - B Minor Pentatonic, A7 - C Minor Pentatonic, Dm7 - A Minor Pentatonic, G7 - Bb Minor Pentatonic

- Cmaj7 - A Minor Pentatonic, A7 - C Minor Pentatonic, Dm7 - A Minor Pentatonic, G7 - Bb Minor Pentatonic

- Cmaj7 - E Minor Pentatonic, A7 - G Minor Pentatonic, Dm7 - E Minor Pentatonic, G7 - F Minor Pentatonic

Scale Choices ในการเล่นบน Turn-Arounds

ใน Turn-Around ประมาณ Cmaj7 - A7alt - Dm7 - G7alt. เราสามารถใช้สเกล ประมาณนี้ (จริงๆมันแล้วแต่คุณชอบนะ):

- Cmaj7 - C Ionian, A7alt - A Alt Scale = Eb Lydian b7 ( = Eb Overtone), Dm7 - D Dorian, G7alt - G Alt Scale = Db Lydian b7

การฝึกซ้อม Turn-Arounds

ให้เราฝึกซ้อม Turn-Arounds ทั้งหมดที่กล่าวมาในทุกๆคีย์ แล้วลองเล่นหรือคิดในหลายวิธีการในการ Reharmonize เจ้า Turn-Around นี้

การใช้ Turn-Arounds

Turn-Arounds ที่กล่าวมาเหล่านี้ เราสามารถใช้ได้โดย:

• เมื่อเล่น Comping, หรือเมื่ออยากสร้าง Variation
• ใช้เล่น Soloing อันนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ผมใช้เล่น "Out" เล็กๆ
• เมื่อใช้ประพันธ์เพลง หรือเขียนเพลง ประมาณว่าให้ฟังดู Stand Out ดูเหมือนจะฉลาดๆหน่อย

จบแค่นี้ก่อน แบ่บ...นึกต่อไม่ออก...

ที่มา https://www.facebook.com/KhonKaenJazzSociety/posts/533965583335750