หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รีวิวโน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว

โน๊ตเพลงก็คือการบันทึกเสียงดนตรีที่ประกอบด้วยปัจจัยหลักๆ ส่องส่วนคือ ระดับเสียง และจังหวะ (ความยาวเสียง) ลงแผ่นกระดาษด้วยสัญลักษณ์ที่ตกลงกัน ซึ่งนักดนตรีที่เขาใจสัญลักษณ์ที่ตกลงกันนี้ก็จะสามารถเล่นเป็นเพลงได้

โน๊ตสากล ก็เป็นการบันทึกรูปแบบหนึ่งผ่าน บรรทัด 5 เส้น และเครื่องหมายกำหนดจังหวะต่างๆ เช่นตัวขาว ตัวดำ ตัวเขบ๊ด ฯลฯ และสัญลักษณ์พิเศษอีกมากมาย ทำให้เป็นยาขมสำหรับนักดนตรีหลายท่าน

คุณ ส.พิณแก้ว ก็เห็นปัญหานี้ โดยลดทอนโน๊ตสากลให้เหลือ แต่ส่วนสำคัญที่เพียงพอจะเล่นเป็นเพลงได้ และนำจุดเด่นของโน๊ตอักษรของดนตรีไทย "ด ร ม ฟ" ที่เห็น "ด" ก็รู้ว่าเป็นเสียง "โด" เข้ามาเป็นโน๊ตไทยสากลที่ทำให้นักเรียนสามารถเล่นเป็นเพลงได้งายขึ้นมันเยี่ยมจริงๆ ท่านสามารถศึกษาแนวคิดการบันทึกของเขาได้ที่ http://www.ghfthailand.org/new_notation_content0.htm 

ตัวอย่างการอ่านโน๊ตเพลงสายฝน

ถ้าเรารู้แค่โน๊ต วรรคแรกที่ร้องว่า "เมื่อลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว" โน๊ตคือ "เร มี ซอล มี ฟา มี เร" ถ้าโชคดีฮัมทำนองเพลงได้ก็เล่นเป็นเพลงได้แต่ถ้าเป็นเพลงที่ไม่เคยได้ยินก็ไม่รู้ทำนองก้จะเล่นไม่เป็นเพลง โน๊ตสากลก็เข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ โดยระดับเสียงเป็นสัญลักษณ์อยู่บนบรรทัด 5 เส้น และความยาวเสียงเป็นตัวโน๊ต ตัวกลม ตัวขาว ตัวดำ ฯลฯ

การอ่านโน๊ตเพลงสายฝน ในโน๊ตสากล


โน๊ตเพลงสายฝน
(กดที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่)
ตัวอย่างโน๊ตเพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน" จะยกตัวอย่างว่ากว่าจะโน๊ตนี้เป็นเพลงได้ 4 ห้องต้องรู้อะไรบ้าง
  • เครื่องหมายกุญแจซอล บอกว่าเครื่องหมายโน๊ตอะไรที่อยู่บรรทัดที่ 2 นับจากข้างล่างคือเสียง "ซอล" อยากรู้โน๊ตตัวอื่นก็ไล่เสียงต่อเอา
  • ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น เรื่องคีย์ และโน๊ตในแต่ละคีย์ว่าตัวไหนติดช๊าป แฟลตบ้าง ในรูปมีเครื่องหมาย # อยู่ตรงเสียง "ฟา" นักดนตรีก็จะรู้ทันทีว่าเพลงนี้อยู่คีย์ G เวลาเล่นเพลงเห็นโน๊ตตัวฟาต้องเล่นเป็นฟาช๊าป (สูงกว่าเดิมครึ่งเสียง)
  • เครื่องหมาย 3/4 บอกว่าเพลงนี้ 1 ห้องเพลงมี 3 จังหวะ โดยโน๊ตตัวดำนับเป็น 1 จังหวะ
  • เริ่มเล่นห้องเพลงที่ 1
    • โน๊ตตัวแรกคือเสียง "เร" ตัวขาวยาว  2 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1 และ 2 ของห้องเพลง
    • โน๊ตตัวที่สองคือเสียง "มี" ตัวดำยาว 1 จังหวะ ลงจังหวะที่ 3 
  • เล่นห้องเพลงที่ 2
    • โน๊ตตัวแรกคือเสียง "ซอล" ตัวขาวยาว  2 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1 และ 2 ของห้องเพลง
    • โน๊ตตัวที่สองคือเสียง "มี" ตัวดำยาว 1 จังหวะ ลงจังหวะที่ 3
  • เล่นห้องเพลงที่ 3
    • โน๊ตตัวแรกคือเสียง "ฟา" ตัวขาวยาว  2 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1 และ 2 ของห้องเพลง
    • โน๊ตตัวที่สองคือเสียง "มี" ตัวดำยาว 1 จังหวะ ลงจังหวะที่ 3 
  •  เล่นห้องเพลงที่ 4
    • โน๊ตตัวแรกคือเสียง "เร" ตัวขาวประจุดยาว 2 จังหวะบวกอีกครึ่งของตัวเองคือ 1 จังหวะ รวมเป็น 3 จังหวะ ลงจังหวะที่ 1, 2 และ 3 ของห้องเพลง

โน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว

เล่นแค่สี่ห้องต้องใช้ความรู้เยอะพอสมควรเลยทีเดียว คุณ ส.พิณแก้ว ก็ได้ประยุกต์โน๊ตสากลให้อ่านง่ายขึ้น เหลือแต่จุดสำคัญ และเอา วิธีบันทึกโน๊ตแบบไทยแบบ "ดรมฟ" ที่เสียง "โด" ก็เป็น "ด", "เร" เป็น "ร" ฯลฯ มาประยุกต์ กลายเป็นโน้ตไทยสากล ดังภาพ โดยวิธีอ่านก็เหมือนโน๊ตสากลข้างบน


โน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว
(กดที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่)

โดยสรุป โน้ตไทยสากล โดย ส.พิณแก้ว ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การสอนดนตรีเป็นเรื่องง่ายขึ้น เล่นเป็นเพลงโดยไม่ต้องบันทึกโน๊ตบนบรรทัด 5 เส้น และเป็นพื้นฐานที่ใช้ต่อยอดไปอ่านโน๊ตสากลได้ครับ มันเยี่ยมจริงๆ