หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

การตั้งเสียงดนตรีไทยด้วยเครือง tunner

งานวิจัยเกี่ยวกับเสียงดนตรีไทยมีเยอะครับแต่ปัญหาคือไม่รู้จะเอาไปใช้อย่างไร ตัวเลขอะไรก็ไม่รู้และนักดนตรีกับตัวเลขก็ไม่ค่อยถูกกันซะด้วย ปัญหานี้แก้ไม่ยากครับเพียงแค่รู้จักการทำงานของ tuner ซักนิดก็ปรับได้แล้ว สำหรับคนที่ไม่ชอบคำนวณตัวเลขเยอะๆ ก็ลงมาดูหัวข้อที่ 5 ได้เลยครับ

1. รู้จักระบบเสียงของ tuner


เครื่อง tuner เป็นเครื่องตั้งเสียงสากลโดยที่เสกลเสียงสากลใน 1 octave (คู่แปด) จะแบ่งเป็น 12 เสียงเท่าๆกัน ค่ามาตรฐานเสียง concert pitch ของโนต A4 (เสียงลา) ที่ 440 Hz จากความถี่หลักนี้เองเครื่อง tuner มันก็จะคำนวณความถี่ของตัวโน๊ตตัวต่อๆไปด้วยสมการที่ 1


         ....(1)

จากสมการที่ 1 จะเห็นว่านี้จะแบ่งตัวโน๊ต 1 คู่แปดเป็น 12 เสียงเท่าๆกัน และเสียงที่ห่างกัน 1 octave (คู่แปด)ความถี่จะมากกว่า 2 เท่า สำหรับตัวโน๊ตตัวต่อไปก็เกิดจากการแทนค่า n ลงไปตามสูตรแทนค่าลบก็ได้เสียงต่ำลง แทนค่าบวกก็ได้เสียงสูงขึ้น ตัวอย่างตามตารางที่ 1


n ชื่อโน๊ต ความถี่
-2 G 391.9954
-1 G# 415.3047
0 A 440
1 A# 466.1638
2 B 493.8833
3 C 523.2511
4 C# 554.3653
5 D 587.3295
6 D# 622.254
7 E 659.2551
8 F 698.4565
9 F# 739.9888
10 G 783.9909
11 G# 830.6094
12 A 880
13 A# 932.3275

ถ้าใครไม่อยากคำนวณตามสูตรให้ปวดหัวก็ใช้กล่องข้างล่างก็ได้ครับ อยากเริ่มที่ตัวโน๊ตตัวไหน (Initial tone) ก็ได้ แบ่ง 1 คู่แปดเป็นกี่ขั้น (Steps) ก็ได้ตามใจ

Frequency calculation for different octave intervals
Initial tone  Hz 
Step  of  steps
        
 Frequency  Hz
ที่มา: http://www.sengpielaudio.com/calculator-centsratio.htm

2. การทำงานของ tuner

 
ในการตั้งเสียงเครื่อง tuner ก็จะมีไมค์รับเสียงก็จะวัดค่าความถี่ที่เราเล่นนำไปเปรียบเทียบกับความถี่ที่คำนวณในเครื่องจากสมการที่ 1 แล้วแสดงผลออกที่หน้าจอว่าสูงไปหรือต่ำไป ความห่างระหว่างความถี่ของตัวโน๊ตสองตัวจะมีหน่วยวัดเป็น cents ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังสมการที่ 2

          .....(2)

ตั่วอย่าง จากโน๊ต A ในเครืองมีความถี่ 440 Hz แต่วัดจากไมค์ได้ 450 Hz เครื่องก็จะคำนวณตามสูตร



ได้ตัวเลขก็โชว์ในหน้าจอว่าโน๊ตตัว A ที่เราเล่นสูงกว่า A มาตรฐานไป 38.9577 cent เราก็ปรับเสียงเครื่องดนตรีลงจนความถี่เท่ากันก็ได้เสียง A ตรงมาตรฐานที่ต้องการ


3. ฟังก์ชั่น calibration


คำว่า Calibration มาจากคำว่า Calibre แปลว่า Level of quality ดังนั้น Calibrate จึงแปลว่า ทำให้มี Level of Quality


การทำงานของฟังก์ชั่นนี้คือปรับที่ตัวโน๊ตตั้งต้น (Initial tone) ตัวเดียวคือเสียง A4 ที่ 440 Hz เป็นอะไรก็ได้ตามใจแล้วเสียงทุกตัวโน๊ตก็จะยกขึ้นหรือต่ำลงเป็นระยะ cents เดียวกันทั้งหมด ปกติจะปรับได้ตั้งแต่ 430 ถึง 450 แล้วแต่เครื่อง

ฟังก์ชั่น Calibration ส่วนใหญ่จะใช้งานเวลาจะไปเล่นคอนเสริทบนเวที แล้วต้องตั้งเสียงให้สูงกว่าปกตินิดหน่อยเพื่อเวลาเจอสปอร์ทไลท์ส่องจะร้อนแล้วเสียงจะเพี้ยนต่ำมาพอดี เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก็นัดกันตั้งเครื่องดนตรีของแต่ละคนที่ A=442 พอขึ้นบนเวทีเจอความร้อนเสียงก็จะเพี้ยนมาที่ A=440 แป๊ะ (ทำให้มี Level of Quality สมชื่อจริงๆ)

4. ปรับ Calibration ครั้งเดียวแล้วตัวโน๊ตทุกตัว สูงขึ้น/ต่ำลง เป็นระยะเท่าๆกันได้อย่างไร ?


มาตรฐานเครื่องจะตั้งค่า A4 ไว้ที่ 440 ซึ่งเครื่องก็จะคำนวณความถี่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาชุดนึงให้เป็น f1
ถ้าเราตั้ง A4 ที่ 442 เครื่องก็จะคำนวณความถี่มาเก็บไว้ในหน่วยความจำอีกชุดนึงให้เป็น f2 ซึ่งโน๊ตสองตัวนี้ห่างกัน 7.851 cents

ให้

....(3)
....(4)
โดยที่ n={ .. ,-2, -1, 0, 1, 2, 3, ..}

นำสมการที่ (3) และ (4) แทนค่าในสมการที่ (2) เพื่อหาความห่างของตัวโน๊ต 2 ตัวที่ต่ำแหน่ง n ใดๆเท่ากับ



c=7.851 cents .....(5)

จากสมการที่ ( 5 )ได้ค่าออกมาเป็นค่าคงที่ที่ 7.851 cent แปลว่าถ้าเราใช้ฟังค์ชั่น calibration ที่ตัวโน๊ต A4 เพียงครั้งเดียวเสียงทุกตัวโน๊ตก็จะสูงขึ้นเป็นระยะที่เท่ากันที่ 7.851 cents

5. การประยุกต์ตั้งเสียงดนตรีไทยด้วย tuner


ดังนั้นจากความรู้เรื่อง calibration นี้สามารถนำมาประยุกต์ในการตั้งเสียงดนตรีไทยได้ โดยต้องรู้ว่าโน๊ตตัวนั้นสูงหรือต่ำจากมาตรฐานไปกี่ cents แล้วไปปรับที่ calibration ของเครื่อง tuner

ขั้นตอนดังนี้
  1. หาเสียงหลักซักเสียง สมติให้ เสียงลา เท่ากับ 375
  2. แบ่งความถี่เริ่มต้นเป็น 7 เสียงเท่าด้วยสมการ  
  3. นำความถี่ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเสียงสากลมาตรฐานที่ A= 440 ว่าไกล้เีคียงตัวโน๊ตไหน
  4. วัดความห่างของโน๊ตจากการคำนวณในข้อ 2 กับโน๊ตมาตรฐานในข้อ 3 ด้วยสมการ 
    ข้อ 2 -4 มีคนคำนวณมาให้เสร๊จสรรพแล้วในเว็ป http://www.thaikids.com/tune.htm ไม่ต้องปวดหัวคำนวณเองครับ
  5. คำนวณว่าต้องตั้งฟังก์ชั่นฟังก์ชั่น Calibration ในเครื่อง tuner เป็น A=? ด้วยสมการ




    ................(6)
 
นำค่า Cent จากตารางการคำนวณของเว็ป thaikids มาแทนค่าในสมการที่ 6 จะได้ผลลัพท์ตามตาราง



ความถี่ (Hz) เสียงสากล Cent Calibration
228.5651 Bb -33.9 431.468
252.3563 B 37.6 449.6607
278.6239 C# 9 442.2933
307.6258 Eb -19.6 435.0467
339.6464 F -48.2 427.9187
375 F# 23.3 445.9618
414.0336 G# -5.3 438.655


ปัญหาที่พบคือ
  •  เครื่อง tuner ตั้งค่า Calibration เป็นทศนิยมไม่ได้
  • ค่าที่คำนวณได้เกินช่วง Calibration ของเครื่อง เช่น 427 เครืองทำได้แค่ 430

ไม่มีความคิดเห็น: